Basic Current-sharing for DC-DC Converters V.1
โครงงานนี้เป็นการทดลองต่อขนานกันของวงจรดีซี ทู ดีซี บักคอนเวอร์เตอร์ 2 วงจร เพื่อให้แชร์การทำงานระหว่างกันในลักษณะของ Master-Slave Operation คือ ในการขนานกันของคอนเวอร์เตอร์ลักษณะนี้จะใช้คอนเวอร์เตอร์ที่มีคุณสมบัติการทำงานเหมือนกันทั้งหมดแล้วจะใช้หนึ่งวงจรเป็นหลัก (Master) ที่จะทำหน้าที่ควบคุมค่าแรงดันทางด้านเอาต์พุตทั้งหมดให้ได้ตามที่กำหนด จากนั้นวงจรส่วนที่เหลือ (Slave) จะทำหน้าที่จ่ายกระแสเพิ่มเติม (Current-sharing) ในสัดส่วนที่เท่ากันเพื่อควบคุมให้แรงดันเอาต์พุตคงที่ นอกจากนี้เทคนิคการแชร์กระแสยังมีอีกหลายรูปแบบเช่น Voltage-Controlled Current Sources, Forced Current Sharing, Parallel Redundant Operation เป็นต้น โดยในโครงงานนี้จะใช้บอร์ดควบคุม Arduino UNO ในการควบคุมการทำงาน
ในรูปที่ 1 และรูปที่ 2 เป็นการเตรียมอุปกรณ์สำหรับประกอบวงจรต้นแบบ โดยในบอร์ดต้นแบบนี้จะใช้วงจรบักคอนเวอร์เตอร์เหมือนกัน 2 วงจร และทดลองการแชร์กระแสทางด้านเอาต์พุตระหว่างกัน
สำหรับรูปที่ 3 และรูปที่ 4 เป็นลักษณะของบอร์ดต้นแบบที่ประกอบขึ้นที่จะมีลักษณะคล้ายกับวงจร Two-Phase Buck Converter ที่เคยนำเสนอ แต่จะต่างกันที่การแชร์กระแสจะใช้การตรวจจับกระแสเอาต์พุตจะแยกส่วนกัน และในรูปที่ 4 จะเป็นการต่อวงจรร่วมกันระหว่างบอร์ดควบคุม Arduino UNO
รูปที่ 5 ถึงรูปที่ 7 เป็นการเตรียมเครื่องมือสำหรับการทดลองโครงงานและการจ่ายแรงดันอินพุตในการทดลองที่ 20VDC และกำหนดค่าแรงดันเอาต์พุตการทำงานที่ 12VDC/2A แบบต่อเนื่อง
ในรูปที่ 8 เป็นลักษณะของสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นจากบอร์ด Arduino UNO ขณะวงจรสแตนบาย โดยการวัดสัญญาณที่ตำแหน่งขา D3 และ D11 ของตัวบอร์ด Arduino UNO
ในรูปที่ 9 ถึงรูปที่ 11 เป็นการทดลองที่ 1 ด้วยการให้วงจรจ่ายกระแสเอาต์พุตที่ 2.52A เพื่อทดสอบการทำงาน โดยจะเห็นว่าค่าแรงดันเอาต์พุตจะอยู่ที่ประมาณ 12V และสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นที่จ่ายให้กับวงจรคอนเวอร์เตอร์ทั้ง 2 ส่วนจะมีค่าใกล้เคียงกันในการตอบสนองให้แรงดันเอาต์พุตคงที่
/* * Code Program for MCU Arduino UNO * Application for Basic Current-sharing for DC-DC Converter. * Design by : www.electronicsDNA.com * Date : 15/4/2023 (V.0) Vi : 20VDC Vo : 12VDC Io : 2.0A (Continuous) Fs : 31.372kHz Eff : > 80% */ int Output_PWM = 0; int Voutput = 0; int Iinductor = 0; int Setpoint = 500; // 500 = 12V @ Voltage output double error; void setup() { pinMode (3, OUTPUT); // PWM Signal Lo Side pinMode (11, OUTPUT); // PWM Signal Hi Side pinMode (13, OUTPUT); // LED Signal OK RUN System Serial.begin(9600); TCCR2A=0b10110001; // Generate inverted PWM signals TCCR2B=0b00000001; // Set Fsw = 31.37 kHz delay(500); digitalWrite(13, HIGH); delay(500); digitalWrite(13, LOW); } void loop() { MainLoop: Iinductor = analogRead(A0); // Read ADC A0 for Iinductor Voutput = analogRead(A1); // Read ADC A1 for Voutput // Iinductor = analogRead(A2); // Read ADC A0 for Iinductor // Voutput = analogRead(A3); // Read ADC A1 for Voutput Serial.print(" IL = "); Serial.println(Iinductor); // Loop Output Short circuit and Current Limit if(Iinductor>350) { // 350 Is Set Current (5A) Output_PWM = 0; OCR2A = Output_PWM; // PIN D11 Hi Side OCR2B = 255-Output_PWM; // PIN D3 Hi Side delay(300); goto MainLoop; } // error = (Voutput-Setpoint); // Serial.print("\t Err = "); // Serial.println(error); if(Setpoint>Voutput){ Output_PWM = Output_PWM+2; goto OUT_PUT; } if(Setpoint<Voutput){ Output_PWM = Output_PWM-2; goto OUT_PUT; } OUT_PUT: if (Output_PWM<1){Output_PWM=0;} // Limit Min PWM Signal if (Output_PWM>128){Output_PWM=128;} // Limit Max PWM Signal OCR2A = Output_PWM; // PIN D11 Hi Side OCR2B = 255-Output_PWM; // PIN D3 Hi Side // delay(10); // Delay for Stability Loop Control }
สำหรับโปรแกรม Arduino ที่แสดงข้างบนเป็นการควบคุมการทำงานให้กับคอนเวอร์เตอร์หลัก 1 วงจร แต่จะจ่ายสัญญาณสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นออกมา 2 ช่องเพื่อให้การทำงานใกล้เคียงกัน และรับสัญญาณป้อนกลับแรงดันเอาต์พุต (feedback signal) เพื่อปรับขนาดของสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นให้ได้ค่าที่เหมาะในการควบคุมการทำงานทั้งหมด
รูปที่ 12 แสดงการวัดค่ากระแสเอาต์พุตเมื่อวงจรไม่ขนานกันที่เอาต์พุต ซึ่งกระแสที่วัดได้ยังคงใกล้เคียงเดิมทั้งนี้ โดยในช่วงการทำงานนี้วงจรคอนเวอร์เตอร์จะทำงานเพียง 1 วงจรเท่านั้น
ในรูปที่ 13 ถึงรูปที่ 15 แสดงค่าแรงดันเอาต์พุตเมื่อวงจรไม่ขนานกันยังคงใกล้เคียง 12V แต่การตอบสนองของสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นเพิ่มขึ้น (เพิ่ม 2 เท่าจากรูปที่ 11) ทั้งนี้อันเนื่องมาจากการจ่ายกระแสเพียงส่วนเดียวของวงจรคอนเวอร์เตอร์ควบคุมหลัก (Master)
สำหรับการทดลองโครงงานนี้เป็นการศึกษาการทำงานร่วมกันของวงจรดีซี ทู ดีซี คอนเวอร์เตอร์ที่นำมาต่อขนานกันเพื่อแชร์กระแส (Current-sharing) ให้กับโหลดได้ใกล้เคียงกัน โดยลักษณะของการแชร์กระแสที่นำเสนอครั้งนี้เป็นเพียงวิธีการหนึ่งอย่างซึ่งสามารถทดลองและนำไปปรับใช้งานได้ แต่ยังมีวิธีการแชร์กระแสอีกหลายลักษณะที่เราสามารถพิจารณาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ ที่เหมาะสม ในส่วนของเนื้อหาการแชร์กระแสนี้สามารถเข้าไปที่ลิ้งก์อ้างอิงท้ายโครงงานนี้นะครับ.
Reference
- https://www.industrial-electronics.com/switching-power-supply_1-24.html
- https://www.thierry-lequeu.fr/data/SLUP094.pdf
- https://www.edn.com/balancing-power-sharing-of-paralleled-boost-converters-in-speakers/
- https://e2e.ti.com/blogs_/b/powerhouse/posts/how-to-design-a-simple-two-phase-current-sharing-synchronous-buck-regulator-using-a-voltage-mode-controller
- https://www.sunpower-uk.com/glossary/what-is-current-sharing/
- https://www.ednasia.com/op-amp-amplifies-current-sense-voltage-in-demo-boards/