Basic PLC simulator Online

ปัจจุบันอุปกรณ์ควบคุมการทำงานระบบอัตโนมัติอย่างหนึ่งเป็นที่นิยมใช้กันคือ PLC : Programmable Logic Controller ทั้งนี้ PLC เป็นอุปกรณ์ควบคุมแบบหนึ่งที่สามารถเรียนรู้เข้าใจได้ไม่ยากนัก ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ออกแบบระบบอัตโนมัติได้กว้าง รวมทั้งตัว PLC ได้ถูกออกแบบให้มีความน่าเชื่อถือต่อการนำไปใช้งาน ทั้งในเรื่องสัญาณรบกวนทางด้านไฟฟ้า สภาวะแวดล้อมในงานอุตสาหกรรม และความคงทนต่ออุณหภูมิแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างกว้าง เป็นต้น

ดังนั้นการเรียนรู้ในเรื่องของ PLC : Programmable Logic Controller จึงเป็นพื้นฐานความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านมากมายในงานอุตสาหกรรม และที่สำคัญการใช้ PLC สำหรับควบคุมในระบบอัตโนมัตินั้น ช่วยให้เพิ่มประภาพได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการเรียนการสอนในเรื่องของ PLC ทั้งในระดับอาชีวะศึกษาและอุดมศึกษา เช่น วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมอุตสาหการ และวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ เป็นต้น และในบทความนี้จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมสำหรับ PLC ด้วยภาษาแลดเดอร (Ladder) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งเราสามารถใช้งานได้ฟรีแบบออนไลน์ เพื่อเข้าใจการเขียนโปรแกรมในลักษณะนี้เบื้องต้นกันครับ

Basic PLC simulator Online

ในรูปที่แสดงข้างบนเราสามารถเข้าใช้งานได้ที่ www.plcfiddle.com ซึ่งจะเป็นลักษณะของแลดเดอร (Ladder) สำหรับใช้ในเขียนโปรแกรมให้กับ PLC และเราจะแบ่งเป็นกลุ่มคำสั่งการใช้งานออกเป็น 3 ส่วนคือ

  1. พื้นที่การเขียนโปรแกรมและการปรับแต่ง
  2. เมนูคำสั่งการทำงานและฟังก์ชั่นใช้งานต่างๆ
  3. เมนูการเพิ่มคำสั่งการกระทำลอจิกและกำหนดค่าตัวแปรทดสอบ
Basic PLC simulator Online

การทดลองเขียนโปรแกรมนั้น โดยเริ่มต้นเว็บไซต์จะมีคำสั่งการทำงานเบื้องต้นมาให้เราทดลองเบื้องต้นแล้ว คือคำสั่ง (START OR MOTOR AND NOT STOP) ให้เราไปที่กลุ่มเมนูที่ 3 ก่อน จากนั้นให้เราทดลองนำเม้าคลิกที่ปุ่ม OFF ที่สวิตช์ Start Button แล้วสังเกตการทำงานของมอเตอร์และที่สวิตช์ Motor

ซึ่งในตอนนี้มอเตอร์จะทำงานและจะคงสถานะอยู่ตลอดถึงแม้ว่าเราจะคลิกที่สวิตช์ Srart Button อีกหรือไม่ก็ตาม (ให้เราคลิกมาที่สถานะ OFF อีกครั้ง) แต่เมื่อเรากดที่ Stop Button ก็จะทำให้มอเตอร์หยุดทำงานนั้นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วที่ Stop Button จะต้องอยู่ในสถานะ OFF เพื่อกลับมาทำงานใหม่

Basic PLC simulator Online

จากนั้นเราสามารถเพิ่มคำสั่งการเขียนโปรแกรม (Rung) โดยให้เราคลิกไปที่เมนู (Other) แสดงที่ตำแหน่งลูกศรสีเขียวในรูปข้างบน จากนั้นคลิกที่ไอคอน Add Rung (ในกรอบสีแดง) ซึ่งตัวโปรแกรมจะเพิ่มให้เราทันที 1 เส้น (เป็นเส้นตรงแนวนอน)

Basic PLC simulator Online

เมื่อเราเพิ่ม Rung เสร็จแล้ว ต่อมาให้เราทดลองเพิ่มสวิตช์โดยการไปที่เมนู Contacts ที่ตำแหน่งลูกศรสีเขียว (ในรูปข้างบน) เมื่อเราคลิกเลือกก็จะแสดงกลุ่มของสวิตช์ต่างๆ ให้เลือกใช้งานต่างๆ โดยในที่นี้เราจะใช้แบบแรกในกรอบสีแดง จากนั้นให้เราคลิกขวาค้างไว้แล้วลากลงมาวางที่ Rung ที่เราเพิ่มไว้ (ดังรูปกรอบสีน้ำเงิน) ก็จะเป็นการสร้างคำสั่งการทำงานเพิ่มขึ้น

Basic PLC simulator Online
การลบคำสั่งสวิตช์เพียงอย่างเดียว
Basic PLC simulator Online
การลบชุดคำสั่ง Rung

สำหรับในกรณีที่เราต้องการลบในกรณีที่เราต้องการลบ Rung หรือสวิตช์ หรืออุปกรณ์โหลดต่างๆ นั้น ให้เราไปที่เมนู Other ในกรณีที่เราต้องการลบสวิตช์ต่างๆ โดยการให้เราคลิกขวาเลือกสวิตช์ค้างไว้ จากนั้นให้เราลากไปวางที่คำสั่ง Trash (กรอบสีแดง) ก็จะเป็นการลบสวิตช์นั้นเอง ในลักษณะเดียวกันกรณีที่เราต้องการลบทั้ง Rung ให้เราคลิกที่เส้น Rung แล้วลากไปวางที่คำสั่ง Trash ในลักษณะเดียวกัน

Basic PLC simulator Online

การกำหนดค่าตัวแปรการทำงานให้สัมพันธ์กันของสวิตช์ หรือโหลด หรือฟังก์ชั่นต่างๆ สามารถทำได้โดยให้เราคลิกที่มุมขวาบนของอุปกรณ์นั้น (ในรูปกรอบสีเขียว) จากนั้นให้เราติ๊กเลือกเพื่อเชื่อมโยงตัวแปรให้ทำงานสัมพันธ์กับส่วนที่เราต้องการดังแสดงในูปข้างบน

นอกจากนี้ในกรณีที่เราต้องการกำหนดค่าตัวแปรเพิ่ม เพื่อใช้ในการทดสอบการทำงานของโปรแกรมบางส่วน หรือใช้ในการช่วยวิเคราะห์การทำงานของโปรแกรมเบื้องต้นนั้น ให้เราเพิ่มค่าตัวแปรที่ช่อง Add (ในกรอบสีแดงรูปข้างบน) จากนั้นตั้งชื่อค่าตัวแปรที่ต้องการ และเลือกคุณสมบัติของค่าตัวแปรนั้น เช่น ฺBoolean, Number, Timer หรือ Counter โดยค่าตัวแปรที่เรากำหนดนี้ เราสามารถนำไปใช้ร่วมกับสวิตช์ หรือโหลด หรือฟังก์ชั่นต่างๆ ได้อีกด้วย ดังแสดงในรูปข้างล่างนี้ (กรอบสีน้ำเงิน)

Basic PLC simulator Online
Basic PLC simulator Online

สำหรับบทความที่นำเสนอนี้เป็นแนวทางเบื้องต้นให้ท่านได้ทดลองนำไปใช้งาน หรือทดลองเรียนรู้การใช้โปรแกรม Ladder ที่นิยมใช้ใน PLC กันนะครับ ซึ่งทั้งนี้แนะนำให้ท่าน Log in (ที่มุมขวาบน) เพื่อเข้าใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ ของโปรแกรมนี้ได้อย่างสมบูรณ์ครับ.

Reference

https://www.plcfiddle.com