Component Tester for Digital Storage Oscilloscope

ทดลองโครงงานเล็กๆ กับวงจรตรวจสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ที่ชื่อว่า Component Tester ซึ่งเป็นวงจรที่จะใช้ต่อร่วมกับออสซิลโลสโคปแบบดิจิตอลสตอเรจ (Digital Storage Oscilloscope : DSO) ซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของรูปสัญญาณที่เกิดขึ้น และสามารถประเมินคุณภาพหรือความปกติของตัวอุปกรณ์ผ่านรูปสัญญาณที่เกิดขึ้นได้

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 1 การเตรียมอุปกรณ์สำหรับประกอบโครงงาน

รูปที่ 1 การเตรียมอุปกรณ์ที่สำคัญต่างๆ ที่จะใช้ในการประกอบโครงงานนี้ ซึ่งโครงงานนี้จะเน้นให้ใช้อุปกรณ์ที่น้อยที่สุด และสามารถปรับแต่งวงจรได้ภายหลังเพื่อให้สามารถใช้งานกับออสซิลโลสโคปในอื่นรุ่นหรือยี่ห้อต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 2 การต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน (1)
Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 3 การต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน (2)

ในรูปที่ 2 และ 3 เป็นการต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันจะสังเกตมีหม้อแปลงขนาดเล็กทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าและเป็นตัวสร้างสัญญาณอ้างอิงในการตรวจสอบ และมีสายแจ๊กต่อบานาน่าสีแดงและสีดำ สำหรับต่อสายไฟเพื่อนำไปทดสอบอุปกรณ์

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 4 วงจรต้นแบบที่ประกอบเสร็จแล้ว

รูปที่ 4 วงจรต้นแบบสำหรับใช้ในการทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะใช้สายโพรบจับที่ตำแหน่งต่างๆ ในวงจรก่อนสำหรับทดลองเบื้องต้น และใช้ปากคีบสำหรับจับที่ขาของตัวอุปกรณ์นั้น

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 5 ตัวอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับทดลอง

รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่จะใช้ในการทดสอบซึ่งในส่วนของวงจรทดสอบนี้จะกำหนดปริมาณการไหลของกระแสให้กับอุปกรณ์สำหรับทดสอบไว้ที่ประมาณ 10mA

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 6 การใช้ปากคีบสายโพรบของดิจิตอลออสซิลโลสโคปในการทดลองเบื้องต้น

ในรูปที่ 6 แสดงการใช้ปากคีบสายโพรบของดิจิตอลออสซิลโลสโคป มาจับที่ตำแหน่ง (X) CH1 และ (Y) CH2 บนบอร์ดต้นแบบสำหรับวัดสัญญาณที่เกิดขึ้น โดยตำแหน่งการต่อภายในวงจรให้เราดูในรูปสุดท้ายเพิ่มเติมครับ

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 7 แสดงการทดสอบด้วยแอลอีดี 5 มิลลิเมตร

รูปที่ 7 แสดงการทดสอบแอลอีดี 5mm โดยจะเราเห็นตัวแอลอีดีจะเปล่งแสงออกมาให้เราเห็นและสามารถสังเกตลักษณะของสัญญาณที่เกิดขึ้นจากกระแสที่ไหลผ่านได้อีกส่วนหนึ่ง

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 8 การเปลี่ยนโหมดการวัดสัญญาณให้กับออสซิลโลสโคป

รูปที่ 8 แสดงการเปลี่ยนโหมดการวัดสัญญาณให้กับออสซิลโลสโคป ซึ่งจะกำหนดการแสดงผลให้เป็นแบบ XY โดยในรูปตัวอย่างที่แสดงเป็นออสซิลโลสโคปยี่ห้อ Tektronix สามารถเปลี่ยนโหมดด้วยการกดที่ปุ่ม (DISPLAY) ในกรอบสีน้ำตาล จากนั้นตามด้วยกดที่ปุ่มเลือกโหมด (Format) ในกรอบสีส้มและให้เราเลือกเป็น XY

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 9 ลักษณะสัญญาณที่เกิดขึ้นจากการวัดแอลอีดี

ในรูปที่ 9 แสดงลักษณะของสัญญาณที่เกิดขึ้นจากการวัดตัวแอลอีดี ซึ่งเราจะสังเกตเห็นว่าจากในรูปนั้นทางด้านแกน X (แนวนอน) ตั้งแต่จุดกลางของจอออสซิลโลสโคปไปทางซ้ายและถึงจุดโค้งขึ้นนั้น จะเป็นค่าแรงดันตกคร่อมตัวแอลอีดีที่ทดสอบ (ในรูปมีค่าประมาณ 1.6V) ที่เราจะสังเกตได้

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 10 การทดสอบกับตัวเก็บประจุ
Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 11 สัญญาณที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบตัวเก็บประจุ

รูปที่ 11 แสดงสัญญาณที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบตัวเก็บประจุ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นวงกลมรี ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับค่าความจุของแต่ตัว และโดยปกติจะประเมินว่าตัวเก็บประจุสามารถนำไปใช้งานได้ปกติ

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 12 การทดสอบกับไดโอด
Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 13 สัญญาณที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบไดโอด

รูปที่ 13 ลักษณะรูปสัญญาณที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบไดโอด กล่าวโดยสรุปจากการทดสอบอุปกรณ์ทั้งหมดจะเป็นตัวอย่างบางส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งเราสามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับการนำไปใช้ตรวจสอบอื่นๆ ตามโอกาสต่อๆไป

Component Tester for Digital Storage Oscilloscope
รูปที่ 14 วงจรที่ใช้ในการทดลองของโครงงานนี้

รูปสุดท้ายที่ 14 จะเป็นวงจรที่ใช้งานจริงและเราสามารถปรับแต่งค่าต่างๆใหม่ได้ตามต้องการ คือที่ตำแหน่ง R2 (Adj Amplitude X,Y) ใช้ปรับขนาดของความสูงของสัญญาณที่เกิดขึ้นในด้านแกน X และ Y ในส่วนนี้เราจะเน้นให้ทางด้านแกน X อยู่ในช่วงขนาดที่เหมาะสม (ไม่เกินหน้าจอและไม่สั้นเกินไป) ส่วนของ R4 (Adj Amplitude Y) ในส่วนนี้เราจะปรับค่าให้เหมาะสมเพื่อให้ขนาดที่แสดงในแนวแกน Y ดูได้ง่ายตามที่เราต้องการครับ.

Reference

  1. https://www.qsl.net/g4usp/Component%20tester/Component%20tester.htm
  2. https://www.jammarcade.net/simple-component-tester-a-k-a-octopus-curve-tracer/
  3. https://electronics.stackexchange.com/questions/68528/octopus-component-tester-analysis
  4. https://sound-au.com/project119.htm