Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO [LEP]

สำหรับโครงงานนี้เป็นการพัฒนาต่อจากตอนที่ 1 (อ่านตอนที่ 1 คลิกที่นี่) สำหรับวงจรซีต้าคอนเวอร์เตอร์ (ZETA Converter) โดยการออกแบบวงจรให้ทำงานแบบซิงโครนัส (Synchronous ZETA Converter Topology) และยังคงใช้ตัวควบคุมเป็นบอร์ด Arduino UNO เช่นเดิม รวมทั้งปรับความถี่สวิตชิ่งให้ต่ำลงมาที่ประมาณ 31.37kHz และโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมจะเป็นแนวความเบื้องต้นสำหรับนำไปพัฒนาต่อ ซึ่งในการพัฒนาวงจรครั้งนี้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 1 การเตรียมทดลองวงจรสำหรับ Synchronous ZETA Converter
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 2 แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงที่ใช้ในการทดลอง

รูปที่ 2 แสดงแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับการทดลองโครงงานโดยในรูปจะมี 2 ส่วนคือ กล่องแรกตัวบน (สวิตช์สีส้ม) จะเป็นแหล่งจ่ายกำลังสำหรับ Synchronous ZETA Converter และแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงตัวนี้จะถูกปรับค่าแรงดันอินพุตในการทดลองผ่านวาริแอก ในส่วนที่สองกล่องข้างล่าง จะเป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับวงจรขับขาเกตที่ตัวออปโต้ TLP250 (U1 และ U2)

Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 3 ตัวต้านทานโหลดในการทดลองขนาด 10 โอห์ม 20 วัตต์
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 4 แรงดันอินพุตขณะวงจรสแตนบาย (Standby mode)
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 5 แรงดันเอาต์พุตขณะวงจรสแตนบาย

รูแที่ 4 และรูปที่ 5 แสดงค่าแรงดันอินพุตและค่าแรงดันเอาต์พุตขณะวงจรสแตนบาย โดยแรงดันอินพุตประมาณ 20V และแรงดันเอาต์พุตกำหนดไว้ที่ประมาณ 20V เช่นกัน

Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 6 สัญญาณเอาพุตอินเวอร์เตอร์ช่องสัญญาณที่ 1 (CH1) และขับขาเกตสำหรับเพาเวอร์มอสเฟต Q2 ช่องสัญญาณที่ 2 (CH2)

รูปที่ 6 แสดงสัญญาณเอาต์พุตอินเวอร์เตอร์สำหรับวงจร Synchronous ZETA Converter ที่ตำแหน่งขา S ของเพาเวอร์มอสเฟต Q1 (CH1) และสัญญาณขับขาเกตสำหรับเพาเวอร์มอสเฟต Q2 ที่จะทำหน้าที่ซิงโครนัสกับเพาเวอร์มอสเฟต Q1

Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 7 การทดลองที่ 1 จ่ายแรงดันอินพุตที่ประมาณ 12V
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 8 การทดลองที่ 1 สัญญาณการตอบสนองเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดที่ 2A (CH1x10 )
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 9 การทดลองที่ 1 ค่าแรงดันเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดที่ 2A
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 10 การทดลองที่ 1 การวัดค่ากระแสเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดที่ 2A

ในรูปที่ 7 ถึงรูปที่ 10 แสดงผลที่ได้จากการทดลองที่ 1 โดยการทดลองจะกำหนดค่าแรงดันอินพุตให้น้อยกว่าแรงดันเอาต์พุตเพื่อทำการทดลองในโหมดบูทคอนเวอร์เตอร์ จากรูปที่ 8 ตำแหน่งสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตจะมีค่ามากกว่า 50% แรงดันเอาต์พุตในรูปที่ 9 มีค่าประมาณ 20V และในรูปที่ 10 เป็นค่ากระแสเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดประมาณ 2A

Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 11 การทดลองที่ 2 จ่ายแรงดันอินพุตที่ประมาณ 20V
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 12 การทดลองที่ 2 สัญญาณการตอบสนองเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดที่ 2A (CH1x10 )
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 13 การทดลองที่ 2 ค่าแรงดันเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดที่ 2A
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 14 การทดลองที่ 2 การวัดค่ากระแสเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดที่ 2A

ในรูปที่ 11 ถึงรูปที่ 14 แสดงผลที่ได้จากการทดลองที่ 2 โดยการทดลองจะกำหนดค่าแรงดันอินพุตให้ใกล้เคียงกับค่าแรงดันเอาต์พุตสำหรับทดลองในโหมดบัฟเฟอร์ (Gain =1) โดยในรูปที่ 12 ตำแหน่งสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตจะมีค่าประมาณ 50% และแรงดันเอาต์พุตในรูปที่ 13 ยังคงมีค่าประมาณ 20V และในรูปที่ 14 ค่ากระแสเอาต์พุตสำหรับโหลดประมาณ 2A

Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 15 การทดลองที่ 3 จ่ายแรงดันอินพุตที่ประมาณ 38V
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 16 การทดลองที่ 3 สัญญาณการตอบสนองเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดที่ 2A (CH1x10 )
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 17 การทดลองที่ 3 ค่าแรงดันเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดที่ 2A
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 18 การทดลองที่ 3 การวัดค่ากระแสเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดที่ 2A

ในรูปที่ 15 ถึงรูปที่ 18 แสดงผลที่ได้จากการทดลองที่ 3 โดยการทดลองจะกำหนดค่าแรงดันอินพุตให้มากกว่าแรงดันเอาต์พุตสำหรับทดลองในโหมดบักคอนเวอร์เตอร์ เช่นเดียวกันในรูปที่ 16 ตำแหน่งสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตจะมีค่าน้อยกว่า 50% และแรงดันเอาต์พุตในรูปที่ 17 ยังคงมีค่าประมาณ 20V และในรูปที่ 18 ค่ากระแสเอาต์พุตสำหรับโหลดประมาณ 2A

Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 19 ลักษณะของการทดลองโครงงาน Synchronous ZETA Converter
 /*
    Code program test for Synchronous ZETA Converter Topology
    MCU : Arduino UNO
    Fs = 31.37kHz
    Vi = 10V-40V/5A
    Vo = 20V/1.5A 
    Output Power : 40W (Continuous)
    R&D by : www.electronicsdna.com
    Date : 21-12-2021 (V.1)      
 */

#include <PWM.h>

int Output_PWM = 0;
int Voutput = 0;
int DT = 5;       // set Dead Time

void setup()
{
pinMode (9, OUTPUT);       // High side
pinMode (10, OUTPUT);     //  Low side

Serial.begin(9600);

TCCR1A =0b11100001;     // Set Register Phase Correct PWM
TCCR1B =0b00000001;     // Set Fsw = 31.372 kHz
delay(300);
}

void loop()
{
         Voutput = analogRead(A0);         
         Serial.print(" Vo = ");  
         Serial.println(Voutput);     

         if(Voutput<503){Output_PWM = Output_PWM-1; goto goPWMSignal;}   // Inver Data for Adj PWM(-) 
         if(Voutput>497){Output_PWM = Output_PWM+1; goto goPWMSignal;}  // Inver Data for Adj PWM(+)        
         
 goPWMSignal:         
 
         if(Output_PWM>250){Serial.print("\t MAX "); Output_PWM=250; goto setPWMSignal;}            
         if(Output_PWM<10)  {Serial.print("\t MIN "); Output_PWM=10; goto setPWMSignal;}
         
 setPWMSignal:    
          
         OCR1A = Output_PWM;           // PIN D9
         OCR1B = (Output_PWM-DT);   // PIN D10
         delay(10);
}  

Download Library ——-> PWM.h

*** เช่นเดียวกับตอนที่ 1 โปรแกรมที่แสดงข้างบนนี้เป็นตัวอย่างแนวคิดเบื้องต้นให้ผู้อ่านสามารถนำไปพัฒนาเพิ่มเติม เช่น การควบคุมแบบ Adaptive control, PID control หรือ Fuzzy Logic control : FLC เป็นต้นครับ

Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 20 บอร์ดควบคุมสำหรับ Synchronous ZETA Converter (วงจรเดียวกับตอนที่ 1)
Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO
รูปที่ 21 วงจรขับกำลังสำหรับ Synchronous ZETA Converter (วงจรเดียวกับตอนที่ 1)

สำหรับในการทดลองโครงงาน Synchronous ZETA Converter นี้วงจรให้ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องจากการทำงานของเพาเวอร์มอสเฟต Q2 ที่จะช่วยลดพลังงานสูญเสียลง และจากการทดลองตัววงจรจะให้ประสิทธิภาพมากในช่วงค่าดิวตี้ไซเกิลประมาณ 35%-75% และสำหรับโครงาน Synchronous ZETA Converter ที่นำเสนอนี้ยังคงเป็นพื้นฐานสำหรับเรียนรู้และทำความเข้าใจในระดับหนึ่ง โดยถ้าผู้อ่านต้องการเนื้อหาการคำนวณเพื่อออกแบบและรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าได้ตามลิ้งก์ที่อ้างอิงข้างล่างนี้ครับ.

Reference

  1. https://www.mdpi.com/2076-3417/11/13/5946/pdf
  2. http://pe.org.pl/articles/2021/7/22.pdf
  3. https://dergipark.org.tr/en/download/article-file/1681553
  4. https://www.ti.com/lit/an/slyt372/slyt372.pdf?ts=1637829028713&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com%252F
  5. https://www.researchgate.net/publication/314798714_Design_and_Implementation_of_Controlled_Zeta_Converter_Power_Supply
  6. https://www.ijirmf.com/wp-content/uploads/201804026.pdf
  7. https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742-6596/1362/1/012104/pdf
  8. https://www.ijert.org/research/comparison-between-zeta-converter-and-boost-converter-using-sliding-mode-controller-IJERTV5IS070322.pdf
  9. https://jpels.org/digital-library/manuscript/file/17377/JPE%206-2-7.pdf
  10. https://www.analog.com/en/technical-articles/the-low-output-voltage-ripple-zeta-dc-dc-converter-topology.html
  11. https://ww1.microchip.com/downloads/en/AppNotes/01467A.pdf