Simple Synchronous ZETA Converter Topology based on Arduino UNO [LEP]

สำหรับโครงงานนี้เป็นการพัฒนาต่อจากตอนที่ 1 (อ่านตอนที่ 1 คลิกที่นี่) สำหรับวงจรซีต้าคอนเวอร์เตอร์ (ZETA Converter) โดยการออกแบบวงจรให้ทำงานแบบซิงโครนัส (Synchronous ZETA Converter Topology) และยังคงใช้ตัวควบคุมเป็นบอร์ด Arduino UNO เช่นเดิม รวมทั้งปรับความถี่สวิตชิ่งให้ต่ำลงมาที่ประมาณ 31.37kHz และโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมจะเป็นแนวความเบื้องต้นสำหรับนำไปพัฒนาต่อ ซึ่งในการพัฒนาวงจรครั้งนี้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


รูปที่ 2 แสดงแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับการทดลองโครงงานโดยในรูปจะมี 2 ส่วนคือ กล่องแรกตัวบน (สวิตช์สีส้ม) จะเป็นแหล่งจ่ายกำลังสำหรับ Synchronous ZETA Converter และแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงตัวนี้จะถูกปรับค่าแรงดันอินพุตในการทดลองผ่านวาริแอก ในส่วนที่สองกล่องข้างล่าง จะเป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับวงจรขับขาเกตที่ตัวออปโต้ TLP250 (U1 และ U2)



รูแที่ 4 และรูปที่ 5 แสดงค่าแรงดันอินพุตและค่าแรงดันเอาต์พุตขณะวงจรสแตนบาย โดยแรงดันอินพุตประมาณ 20V และแรงดันเอาต์พุตกำหนดไว้ที่ประมาณ 20V เช่นกัน

รูปที่ 6 แสดงสัญญาณเอาต์พุตอินเวอร์เตอร์สำหรับวงจร Synchronous ZETA Converter ที่ตำแหน่งขา S ของเพาเวอร์มอสเฟต Q1 (CH1) และสัญญาณขับขาเกตสำหรับเพาเวอร์มอสเฟต Q2 ที่จะทำหน้าที่ซิงโครนัสกับเพาเวอร์มอสเฟต Q1




ในรูปที่ 7 ถึงรูปที่ 10 แสดงผลที่ได้จากการทดลองที่ 1 โดยการทดลองจะกำหนดค่าแรงดันอินพุตให้น้อยกว่าแรงดันเอาต์พุตเพื่อทำการทดลองในโหมดบูทคอนเวอร์เตอร์ จากรูปที่ 8 ตำแหน่งสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตจะมีค่ามากกว่า 50% แรงดันเอาต์พุตในรูปที่ 9 มีค่าประมาณ 20V และในรูปที่ 10 เป็นค่ากระแสเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสให้โหลดประมาณ 2A




ในรูปที่ 11 ถึงรูปที่ 14 แสดงผลที่ได้จากการทดลองที่ 2 โดยการทดลองจะกำหนดค่าแรงดันอินพุตให้ใกล้เคียงกับค่าแรงดันเอาต์พุตสำหรับทดลองในโหมดบัฟเฟอร์ (Gain =1) โดยในรูปที่ 12 ตำแหน่งสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตจะมีค่าประมาณ 50% และแรงดันเอาต์พุตในรูปที่ 13 ยังคงมีค่าประมาณ 20V และในรูปที่ 14 ค่ากระแสเอาต์พุตสำหรับโหลดประมาณ 2A




ในรูปที่ 15 ถึงรูปที่ 18 แสดงผลที่ได้จากการทดลองที่ 3 โดยการทดลองจะกำหนดค่าแรงดันอินพุตให้มากกว่าแรงดันเอาต์พุตสำหรับทดลองในโหมดบักคอนเวอร์เตอร์ เช่นเดียวกันในรูปที่ 16 ตำแหน่งสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตจะมีค่าน้อยกว่า 50% และแรงดันเอาต์พุตในรูปที่ 17 ยังคงมีค่าประมาณ 20V และในรูปที่ 18 ค่ากระแสเอาต์พุตสำหรับโหลดประมาณ 2A

/* Code program test for Synchronous ZETA Converter Topology MCU : Arduino UNO Fs = 31.37kHz Vi = 10V-40V/5A Vo = 20V/1.5A Output Power : 40W (Continuous) R&D by : www.electronicsdna.com Date : 21-12-2021 (V.1) */ #include <PWM.h> int Output_PWM = 0; int Voutput = 0; int DT = 5; // set Dead Time void setup() { pinMode (9, OUTPUT); // High side pinMode (10, OUTPUT); // Low side Serial.begin(9600); TCCR1A =0b11100001; // Set Register Phase Correct PWM TCCR1B =0b00000001; // Set Fsw = 31.372 kHz delay(300); } void loop() { Voutput = analogRead(A0); Serial.print(" Vo = "); Serial.println(Voutput); if(Voutput<503){Output_PWM = Output_PWM-1; goto goPWMSignal;} // Inver Data for Adj PWM(-) if(Voutput>497){Output_PWM = Output_PWM+1; goto goPWMSignal;} // Inver Data for Adj PWM(+) goPWMSignal: if(Output_PWM>250){Serial.print("\t MAX "); Output_PWM=250; goto setPWMSignal;} if(Output_PWM<10) {Serial.print("\t MIN "); Output_PWM=10; goto setPWMSignal;} setPWMSignal: OCR1A = Output_PWM; // PIN D9 OCR1B = (Output_PWM-DT); // PIN D10 delay(10); }
*** เช่นเดียวกับตอนที่ 1 โปรแกรมที่แสดงข้างบนนี้เป็นตัวอย่างแนวคิดเบื้องต้นให้ผู้อ่านสามารถนำไปพัฒนาเพิ่มเติม เช่น การควบคุมแบบ Adaptive control, PID control หรือ Fuzzy Logic control : FLC เป็นต้นครับ


สำหรับในการทดลองโครงงาน Synchronous ZETA Converter นี้วงจรให้ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องจากการทำงานของเพาเวอร์มอสเฟต Q2 ที่จะช่วยลดพลังงานสูญเสียลง และจากการทดลองตัววงจรจะให้ประสิทธิภาพมากในช่วงค่าดิวตี้ไซเกิลประมาณ 35%-75% และสำหรับโครงาน Synchronous ZETA Converter ที่นำเสนอนี้ยังคงเป็นพื้นฐานสำหรับเรียนรู้และทำความเข้าใจในระดับหนึ่ง โดยถ้าผู้อ่านต้องการเนื้อหาการคำนวณเพื่อออกแบบและรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าได้ตามลิ้งก์ที่อ้างอิงข้างล่างนี้ครับ.
Reference
- https://www.mdpi.com/2076-3417/11/13/5946/pdf
- http://pe.org.pl/articles/2021/7/22.pdf
- https://dergipark.org.tr/en/download/article-file/1681553
- https://www.ti.com/lit/an/slyt372/slyt372.pdf?ts=1637829028713&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com%252F
- https://www.researchgate.net/publication/314798714_Design_and_Implementation_of_Controlled_Zeta_Converter_Power_Supply
- https://www.ijirmf.com/wp-content/uploads/201804026.pdf
- https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742-6596/1362/1/012104/pdf
- https://www.ijert.org/research/comparison-between-zeta-converter-and-boost-converter-using-sliding-mode-controller-IJERTV5IS070322.pdf
- https://jpels.org/digital-library/manuscript/file/17377/JPE%206-2-7.pdf
- https://www.analog.com/en/technical-articles/the-low-output-voltage-ripple-zeta-dc-dc-converter-topology.html
- https://ww1.microchip.com/downloads/en/AppNotes/01467A.pdf