Learning the basics of Grid Tie Inverter and Operation [EP1]

บทความนี้เป็นการเรียนรู้และทดลองเบื้องต้น เพื่อให้เข้าใจการทำงานของวงจรกริดไทร์อินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter : GTI) สำหรับการเชื่อมต่อและส่งผ่านกำลังไฟฟ้าเข้าด้วยกัน ซึ่งการทดลองจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การทดลองด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current Source) และแบบแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Current Source) โดยใช้แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าที่แรงดันต่ำๆ เพื่อสังเกตการทำงานและผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองนั้นๆ

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 1 การทดลองด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current Source)
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 2 การต่อวงจรสำหรับทดลองด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current Source)

รูปที่ 1 และรูปที่ 2 แสดงการทดลองแบบใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อให้เข้าใจการทำงานของกริดไทร์อินเวอร์เตอร์ได้ง่ายขึ้น โดยลักษณะการต่อวงจรสำหรับทดลองแสดงในรูปที่ 2 จะสังเกตเห็นว่าที่ตำแหน่งเอาต์พุตของตัวแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงทั้ง 2 ต่อขนานกัน เพื่อจ่ายกระแสให้กับโหลดอีกครั้งและสังเกตการทำงานที่เงื่อนไขแรงดันอินพุต

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 3 แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงปรับค่าได้ 0V-22V (เสมือนแหล่งจ่ายไฟเสริม)
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 4 ปรับค่าแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายกระแสตรงที่ 15.20V
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 5 แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่ 20V (เสมือนแหล่งจ่ายไฟหลัก)
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 6 แรงดันของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่ 20.06V

รูปที่ 3 ถึงรูปที่ 6 แสดงแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงสำหรับทดลอง โดยจะใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงปรับค่าได้ 0V-22V และเปรียบเสมือนแหล่งจ่ายไฟเสริมต่างๆ เช่น จากระบบโซล่าเซลล์หรือกังหันลม เป็นต้น และแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่ขนาด 20V จะเปรียบเสมือนแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักทั่วไป 220V นั้นเอง

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 7 แคล้มมิเตอร์วัดกระแสจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงปรับค่าได้
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 8 แคล้มมิเตอร์วัดกระแสจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่

ในรูปที่ 3 ถึงรูปที่ 8 เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับทดลอง โดยเราจะใช้ในการวัดค่าแรงดันของแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงทั้ง 2 รวมทั้งการวัดกระแสที่จ่ายออกมา เพื่อสังเกตการทำงานเมื่อเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกันสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับโหลดโดยในรูปที่ 7 และรูปที่ 8 กระแสเป็น 0A เนื่องจากยังไม่ต่อโหลดให้กับวงจรแต่อย่างใด

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 9 การทดลองที่ 1 เมื่อนำโหลดตัวต้านทานขนาด 20 โอห์ม 20 วัตต์มาต่อที่เอาต์พุต
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 10 การทดลองที่ 1 วัดค่ากระแสที่ได้จากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่ 0.99A
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 11 การทดลองที่ 1 วัดค่ากระแสที่ได้จากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงปรับค่า 0.0A

สำหรับในรูปที่ 9 ถึงรูปที่ 11 เป็นการทดลองที่ 1 ด้วยการต่อโหลดตัวต้านทานขนาด 20 โอห์ม 20 วัตต์ที่เอาต์พุตจะสังเกตเห็นว่าในกรณีที่แรงดันของแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงปรับค่ามีแรงดันน้อยกว่าแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงคงที่แล้ว จะเป็นผลให้กระแสจ่ายแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงคงที่จะจ่ายกระแสไปยังโหลดแทน

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 12 การทดลองที่ 2 เมื่อค่าแรงดันแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่ลดลงที่ 18.87V
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 13 การทดลองที่ 2 เมื่อปรับค่าแรงดันแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงเพิ่มที่ 20.9V
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 14 การทดลองที่ 2 วัดค่ากระแสที่ได้จากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงปรับค่า 1.11A
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 15 การทดลองที่ 2 วัดค่ากระแสที่ได้จากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่ 0.05A

ในรูปที่ 12 ถึงรูปที่ 15 เป็นการทดลองที่ 2 โดยการปรับค่าแรงดันของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงปรับค่าให้สูงกว่า (20.9V) แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่ (18.87V) และสังเกตผลที่ได้จะตรงข้ามกับการทดลองที่ 1 คือกระแสจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงปรับค่าเพิ่มขึ้น (1.11A) และแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงค่าคงที่ลดลงใกล้เคียง 0A ซึ่งการทดลองนี้ช่วยให้ทราบว่าแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงกระแสตรงที่นำมาต่อขนานกันจะเป็นผลให้ตัวที่มีค่าแรงดันสูงสุดจะทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายกระแสแทน ทั้งนี้จะไม่มีผลในเรื่องของความถี่ (Frequency) และเฟส (Phase) ที่เกิดขึ้น

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 16 การทดลองด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Current Source)
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 17 การต่อวงจรสำหรับทดลองด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Current Source)

รูปที่ 16 และรูปที่ 17 เป็นการต่อวงจรสำหรับทดลองโดยใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยการใช้หม้อแปลงแรงดันต่ำนำมาต่อขนานกัน 2 ตัว โดยพิจารณาเฟส (Phase) ของกำลังไฟฟ้าให้ตรงกัน ความถี่ (Frequency) จะต้องเท่ากัน โดยใช้แหล่งจ่ายไฟเลี้ยง 220VAC/50Hz จากแหล่งเดียวกัน และปรับค่าแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ทั้ง 2 ส่วนให้ใกล้เคียงกันมากที่สุดในการเริ่มต้นทดลอง

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 18 หม้อแปลงสำหรับเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับปรับค่าได้ (เสมือนแหล่งจ่ายไฟเสริม)
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 19 หม้อแปลงสำหรับเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับค่าคงที่ (เสมือนแหล่งจ่ายไฟหลัก)
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 20 การทดลองที่ 1 เมื่อปรับแรงดันเอาต์พุตหม้อแปลงทั้ง 2 ตัวให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด

ในรูปที่ 18 ถึงรูปที่ 20 คล้ายกับการทดลองด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงที่ผ่านมา แต่จะใช้หม้อแปลงขนาดเล็กเปรียนเสมือนแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสสลับแทนและใกล้เคียงลักษณะการใช้งานจริงเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของหม้อแปลงจ่ายไฟฟ้ากระแสค่าคงที่จะมีแรงดันที่ประมาณ 12VAC (CH1 ในรูปที่ 20) และหม้อแปลงจ่ายไฟฟ้ากระแสแบบปรับค่าได้จะมีแรงดันที่ประมาณ 15VAC (CH2 ในรูปที่ 20) และในการปรับค่าแรงดันจะใช้วาริแอกปรับแรงดันอินพุต 220VAC

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 21 แคล้มมิเตอร์วัดกระแสจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับปรับค่าได้
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 22 แคล้มมิเตอร์วัดกระแสจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับค่าคงที่
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 23 โหลดตัวต้านทานขนาด 20 โอห์ม 20 วัตต์สำหรับทดลอง

ในรูปที่ 18 ถึงรูปที่ 22 การทดลองที่ 1 เมื่อปรับแรงดันเอาต์พุตของหม้อแปลงทั้ง 2 ตัวให้เท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด (แสดงในรูปที่ 20) เป็นผลให้ไม่มีกระแสไหลระหว่างกันของหม้อแปลงทั้ง 2 ตัว ดังแสดงในรูปที่ 21 และรูปที่ 22 ซึ่งหมายถึง เฟส (Phase) และความถี่ (Frequency) รวมถึงแรงดัน (Voltage) ของแหล่งจ่ายทั้ง 2 ส่วนเท่ากันหรือใกล้เคียงกันที่สุด

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 24 การทดลองที่ 2 เมื่อปรับแรงดันให้กับหม้อแปลงปรับค่าให้น้อยกว่าหม้อแปลงแรงดันคงที่
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 25 วัดค่ากระแสที่ได้จากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับค่าคงที่ 0.45A
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 26 วัดค่ากระแสที่ได้จากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับปรับค่า 0.03A

สำหรับรูปที่ 24 ถึงรูปที่ 26 เป็นการทดลองที่ 2 นำโหลดขนาด 20 โอห์ม 20 วัตต์มาต่อที่เอาต์พุตและปรับค่าแรงดันของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับปรับค่า (12.6VAC) ให้มีค่าน้อยกว่าแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับค่าคงที่ (13.6VAC) จะสังเกตเห็นว่าตัวแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับค่าคงที่ จะทำหน้าที่จ่ายกำลังไฟฟ้าไปยังโหลดแทนที่กระแสเท่ากับ 0.45A

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 27 การทดลองที่ 3 เมื่อปรับแรงดันให้กับหม้อแปลงปรับค่าให้มากกว่าหม้อแปลงแรงดันคงที่
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 28 วัดค่ากระแสที่ได้จากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับค่าคงที่ 0.01A
Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 29 วัดค่ากระแสที่ได้จากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับปรับค่า 0.47A

สำหรับรูปที่ 27 ถึงรูปที่ 29 เป็นการทดลองที่ 3 ยังคงต่อโหลดที่เอาต์พุต จากนั้นปรับค่าแรงดันของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับปรับค่า (14.0VAC) ให้มีค่ามากกว่าแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับค่าคงที่ (13.6VAC) จะสังเกตเห็นว่าตัวแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับปรับค่าได้ จะทำหน้าที่จ่ายกำลังไฟฟ้าไปยังโหลดแทนที่กระแสเท่ากับ 0.47A ซึ่งผลที่ได้จะตรงกันข้ามกับการทดลองที่ 2 นั้นเอง

Learnning the basics of Grid Tie Inverter and Operation
รูปที่ 30 แสดงลักษณะการทดลองทั้งหมด

สำหรับบทความนี้เป็นการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับกริดไทร์อินเวอร์เตอร์ Grid Tie Inverter หรือบางครั้งเรียก Grid Connected Inverter ในเบื้องต้นนี้ ซึ่งเป็นอีก 1 เรื่องที่แอดมินลองหาข้อมูลในเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วไป (เว็บไซต์อ้างอิงข้างล่าง) และสรุปเนื้อหาตามที่ได้อ่าน และทดลองวงจรเพิ่มเติมบางส่วนเพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งคิดว่าการเรียนรู้และทดลองครั้งนี้คงจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวความคิดเบื้องต้นให้กับผู้อ่านเกี่ยวกับกริดไทอินเวอร์เตอร์อีกส่วนหนึ่งครับ.

Reference

  1. https://www.inverter.com/solar-on-grid-inverter-circuit-design
  2. https://www.researchgate.net/publication/281841873_Design_and_analysis_of_a_transformer-less_single-phase_grid-tie_photovoltaic_inverter_using_boost_converter_with_Immittance_conversion_topology
  3. https://solar.smps.us/grid-tie-inverter-schematic.html
  4. https://www.elektormagazine.com/labs/solar-grid-tie-inverter-re-engineered
  5. https://www.homemade-circuits.com/simplest-grid-tie-inverter-gti-circuit/
  6. https://www.mdpi.com/2079-9292/12/4/860
  7. https://romanblack.com/micro_gt.htm
  8. https://www.semanticscholar.org/paper/Design-and-implementation-a-specific-grid-tie-for-Abdar-Chakraverty/3c5babe3c6d1a601cfd4c5987541fb26ae1f9ad3
  9. https://www.ti.com/lit/an/sprabt0/sprabt0.pdf
  10. https://www.ti.com/lit/ug/tiduay6e/tiduay6e.pdf
  11. https://www.electro-tech-online.com/threads/i-need-your-suggestions-on-my-grid-tie-inverter-design.140892/
  12. https://www.instructables.com/Grid-Tie-Inverter-V3/
  13. https://www.instructables.com/Grid-Tie-Inverter-V2/
  14. https://www.ti.com/lit/ug/tidub21d/tidub21d.pdf