โครงงานนี้เป็นการทำฐานยึดให้กับ BLDC Motor เพื่อให้ง่ายสำหรับการทดลอง และจัดวางตำแหน่งยึดให้แข็งแรง ซึ่งมอเตอร์ลักษณะนี้จะมีแรงบิด (Torque) ค่อนข้างมากในการหมุน
วงจรซอฟต์ชาร์จ (Soft Charge) และวงจรป้องกันสำหรับสวิตชิ่งโหมดเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญสำหรับการลดการกระชากของกระแส (Inrush current) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเริ่มการใช้งาน การป้องกันแรงดันอินพุตสูงและต่ำกว่ที่กำหนด การลดสัญญาณรบกวนที่จะเกิดขึ้นขณะวงจรใช้งาน เป็นต้น
โครงงานนนี้เป็นออกแบบแหล่งจ่ายไฟแบบสวิตชิ่ง เพาเวอร์ซัพพลาย แบบฟายแบกคอนเวอร์เตอร์ (Flyback Converter) รับแรงดันช่วง 125-220Vac โดยต้องการแรงดันที่เอาต์พุตที่ 15V/300mA จำนวน 3 ช่องแยกอิสระ และใช้ไอซีควบคุมแบบโหมดกระแส (Current Mode Control)
โครงงานนี้เป็นการทดลองออกแบบวงจรเพิ่มแรงดัน (Boost converter) ด้วยตัวควบคุม Arduino Nano และเขียนโปรแกรมการทำงานในโหมดกระแส (Current Mode Control) ซึ่งเราจะเห็นลักษณะของบล๊อกไดอะแกรมภายในไอซีที่ใช้งานทั่วไป
โครงงานนี้เป็นการทำแท่นยึดให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า 220Vac ชนิด Capacitor Run Motor เพื่อใช้ในการทดลองและศึกษาการทำงานของมอเตอร์ชนิดนี้ รวมทั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราต้องการควบคุมความเร็ว (Speed control) และแรงบิด (Torque Control)
โครงงานหัวแร้งปรับอุณหภูมิได้แบบดิจิตอลที่เราสามารถประกอบขึ้นมาใช้เอง ตัวควบคุมจะเป็นชุดเสมือน HAKKO T12 โดยใช้แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงขนาด 24V/2A
โครงงานนี้จะเป็นการทดลองต่อวงจร Active Power Factor Correction : APFC ด้วยไอซีควบคุมเบอร์ UCC3818N ซึ่งเป็นไอซีที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่สูงมากนัก และหาข้อมูลได้ง่าย