Begining for EGS0002 Sinusoid Inverter Board

สำหรับการทดลองนี้จะเป็นการใช้งานบอร์ด EGS0002 เบื้องต้น เพื่อเรียนรู้และเข้าใจการใช้งานต่างๆ ของบอร์ดสร้างสัญญาณไซน์เวฟสำหรับวงจรอินเวอร์เตอร์ เช่น การส่งสัญญาณเพื่อขับเพาเวอร์ไอจีบีที หรือมอสเฟตเป็นต้น การรับสัญญาณป้อนกลับสำหรับควบคุมแรงดันที่เอาต์พุต การตรวจจับกระแสให้กับอุปกรณ์ขับกำลัง การจ่ายไฟเลี้ยงให้กับบอร์ด และการสังเกตสัญญาณการแจ้งความผิดปกติที่เกิดขึ้น

Begining for EGS0002 Sinusoid Inverter Board
Begining for EGS0002 Sinusoid Inverter Board

ในรูปข้างบนจะเป็นลักษณะของบอร์ด EGS0002 ซึ่งจะมีขนาดเล็กกระทัดรัด ซึ่งเป็นบอร์ดที่นักทดลองและออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์นิยมนำมาใช้งานมาก ทั้งนี้บอร์ด EGS0002 ช่วยให้ผู้ทดลองใช้เวลาในการสร้างวงจรอินเวอร์เตอร์ที่ให้แรงดันเอาต์พุตแบบไซน์เวฟน้อยลง ซึ่งสามารถปรับขนาดของแรงดันเอาต์พุตเพื่อให้ได้ตามที่ต้องได้ง่ายยิ่งขึ้น

EGS0002 Sinusoid Inverter

จากในรูปบอร์ด EGS0002 จะใช้ตัวประมวลผล ในการควบคุมการสร้างสัญญาณไซน์เวฟ (ตัวไอซีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านขวามือบน) โดยสัญญาณที่ได้นี้ยังไม่สามารถส่งไปยังภาคขับกำลังได้ทันที แต่ต้องใช้ไอซีสำหรับปรับขนาดสัญญาณและส่งไปยังส่วนขับกำลัง อีกครั้งด้วยไอซี 2 ตัว (ไอซีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 ตัวกลางบอร์ด) และสุดท้ายจะเป็นไอซีขนาดเล็ก (ใกล้กับไอซีปรับขนาดสัญญาณซ้าย ตำแหน่งมือสุด) ที่จะใช้ในการตรวจจับกระแสที่ไหลผ่านอุปกรณ์ขับกำลังไม่ให้เกินค่าที่กำหนด

Begining for EGS0002 Sinusoid Inverter Board
EGS0002 Sinusoid Inverter
Begining for EGS0002 Sinusoid Inverter Board

สำหรับบอร์ด EGS0002 นี้เราสามารถต่อใช้งานร่วมกับจอแอลซีดีเพื่อแสดผลการทดงานได้เพิ่มเติม เพื่อให้ง่ายสำหรับสังเกตการทำงานที่เกิดขึ้น โดยจุดต่อใช้งานจะเป็นลักษณะ PIN Header เรัยงกันใกล้กับตัวไมโครคอนโทรลเลอร์

EGS0002 Sinusoid Inverter

รูปข้างบนจะเป็นลักษณะวงจรที่จะต่อใช้งานร่วมกับเพาเวอร์มอสเฟต ที่ขาต่างๆ การรับสัญญาณป้อนกลับแรงดัน และกระแสสำหรับอุปกร์ขับกำลัง ขาสำหรับต่อ NTC : Negative Temperature Coefficient เพื่อป้องกันความร้อน และขาสำหรับควบคุมการทำงานของพัดลมในการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นภายในวงจร

EGS0002 Sinusoid Inverter
EGS0002 Sinusoid Inverter

ลักษณะการทดลองตามรูปที่แสดงข้างบนนี้ จะต่อไฟเลี้ยง 2 ส่วนคือ 5V เข้าที่ขา 14 (สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์) ไฟเลี้ยง 12V ที่ขา 12 โดยให้ขา 15 (VFB) และขา 1 (IFB) ต่อตัวต้านทาน 3.3k ลงกราว์ดก่อน (ยังไม่รับสัญญาณป้อนกลับเพื่อให้บอร์ดเริ่มการทำงานได้) ที่ขา 3, 6, 8 และ 10 จะต่อด้วยตัวต้านทาน 330R เพื่อให้เป็นโหลดค่าน้อยๆ และเราสามารถวัดสัญญาณที่เกิดขึ้นได้ ส่วนขาสำหรับต่อ NTC (16) และพัดลม (ขา 17) จะปล่อยลอยไว้ ที่ขา 2, 4, 7, 11, และ 13 จะต่อลงกราวด์

EGS0002 Sinusoid Inverter

จากการทดลองเบื้องต้นนั้น สัญญาณจะมีสัญญาณแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ แบบพัลซ์ปกติที่มีความถี่ 50Hz (2 ช่อง) และสัญญาณพัลซ์ในลักษณะไซน์ (2 ช่อง) ซึ่งโดยโครงสร้างนั้นบอร์ดนี้จะต้องต่อส่วนของตัวขับกำลังแบบฟูลบริดจ์เพื่อสร้างสัญญาณไซน์ที่เอาต์พุตและจะต้องมีตัวเหนี่ยวนำอีก 1 ตัวเพื่อทำหน้าที่กรองความถี่พาหะจากการสร้างสัญญาณไซน์เวฟให้สมบูรณ์ที่สุด

นอกจากนี้ในช่วงที่เรากำลังทดลองและจ่ายไฟเลี่ยงให้กับบอร์ด EGS0002 นั้น เราจะต้องมีสัญญาณป้อนกลับมายังขารับสัญญาณป้อนกลับแรงดัน (ที่ขา 15) ด้วย ทั้งนี้ในกรณีที่เราไม่ส่งสัญญาณป้อนกลับจะทำให้แจ้งความผิดปกติด้วยการกระพริบของแอลอีดี และจะหยุดการจ่ายสัญญาณให้กับอุปกรณ์ขับกำลังที่ต่อร่วมนั้นเอง

Reference

  1. http://mkpochtoi.ru/EGS002_manual_en.pdf
  2. https://www.lz2gl.com/data/power-inve…