Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W

บทความนี้นำเสนอวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ด้วยการศึกษาจากสินค้าที่มีจำหน่ายทั่วไป นำมาอธิบายและทดสอบสัญญาณเบื้องต้น รวมทั้งแยกภาคการทำงานแต่ละส่วนภายในวงจรเพื่อให้เนื้อข้อมูลเบื้องต้น ในการวิเคราะห์การทำงาน การตรวจซ่อม หรือการพัฒนาวงจรเพื่อใช้งานในด้านต่างๆ ตามต้องการ โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ที่นำมาเป็นตัวอย่างจะสามารถจ่ายกำลังไฟได้ที่ 500 วัตต์ (ตามสเปกของสินค้าที่ติดมา) รับแรงดันอินพุตที่ 12V และมีแอลอีดีแสดงผลสถานะการทำงานให้ทราบ

*หมายเหตุ สำหรับการนำเสนอบทความนี้ ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ผลิตสินค้าแต่อย่างใด เพียงต้องการให้เนื้อหาเป็นประโยชน์กับผู้อ่านในเว็บไซต์เท่านั้น

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 1 ลักษณะของกล่องอินเวอร์เตอร์ ขนาด 500 วัตต์ 12 โวลต์
Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 2 ด้านข้างช่องเสียบปลั๊กตัวเมีย 220Vac และแอลอีดีแสดงสถานะ
Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 3 ด้านข้างจุดต่อไฟเลี้ยง 12V และพัดลมระบายความร้อน

ในรูปที่ 1 ถึง 3 ลักษณะของอินเวอร์เตอร์สำหรับเป็นตัวอย่างการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งจะแสดงรูปด้านบน ด้านข้าง ที่มีใช้จุดต่อต่างๆ สำหรับการใช้งาน เช่น จุดต่อไฟเลี้ยงอินพุต, แอลอีดีแสดงสถานะ, ช่องเสียบปลั๊กตัวเมีย 220Vac, สวิตช์เปิด/ปิด การทำงาน และพัดลมระบายอากาศเป็นต้น

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 4 แกะฝาปิดด้านข้างทั้ง 2 ด้านออก

รูปที่ 4 เปิดฝาปิดด้านข้างทั้ง 2 ด้านออก เพื่อให้เราสามารถนำแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ออกมาได้

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 5 ลักษณะวงจรภายในอินเวอร์เตอร์

รุปที่ 5 เมื่อถอดบอร์ดวงจรอินเวอร์เตอร์ออกจากกล่อง จะเป็นลักษณะวงจรภายในอินเวอร์เตอร์ การต่อสายไฟต่างๆ และการวางอุปกรณ์

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 6 แบ่งภาคการทำงานภายในอินเวอร์เตอร์

รูปที่ 6 เป็นการแบ่งกลุ่มของวงจรต่างๆ ออกเป็นส่วนตามลักษณะการทำงาน ซึ่งในที่นี้จะแบ่งเป็น 5 ส่วนหรือภาคการทำงานคือ

  • MOSFET Power OUTPUT จะอยู่ในกรอบสีส้มบน
  • Filter INPUT ในกรอบสีน้ำตาล
  • Power MOSFET Converter ในกรอบสีน้ำเงินด้านล่าง
  • LED Monitor ในกรอบสีเหลืองซ้าย
  • IC Control ในกรอบสีเขียวตามลำดับ
Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 7 ลักษณะการวางอุปกรณ์ภายในอินเวอร์เตอร์

รูปที่ 7 แสดงลักษณะของการวางอุปกรณ์ต่างๆ ของวงจรภายในอินเวอร์เตอร์และเป็นรูปมุมมองระยะใกล้ขึ้นสำหรับสังเกตการใช้อุปกรณ์

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 8 บล็อกไดอะแกรมการทำงานของวงจรในอินเวอร์เตอร์

รูปที่ 8 แสดงบล็อกไดอะแกรมการทำงานเบื้องต้นของวงจรอินเวอร์เตอร์ ที่สังเกตได้จากการต่อวงจร การใช้อุปกรณ์ต่างๆ และการต่อสายไฟสำหรับใช้งาน โดยจะแบ่งออกเป็น 8 ส่วน และจะมี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนของดีซี ทู ดีซี คอนเวอร์เตอร์ และส่วนของอินเวอร์เตอร์ โดยทั้ง 2 ส่วนจะแยกการทำงานด้วยไอซีควบคุม TL494

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 9 ไอซีควบคุมการทำงานใช้ 2 ตัว

รูปที่ 9 ในกลุ่มของไอซีควบคุมการทำงานนััน จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ตัวคือ ตัวแรกจะเป็นไอซีควบคุมอินเวอร์เตอร์ (IC Control Inverter) ในกรอบสีเหลือง ซึ่งบอร์ดนี้จะใช้ไอซีเบอร์ TL494 ในการสร้างสัญญาณขับเพาเวอร์มอสเฟต 4 ตัวแบบ H-bridge และไอซีตัวที่ 2 จะเป็นเบอร์ TL494 เช่นกัน ในกรอบสีส้ม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมวงจรดีซี ทู ดีซี คอนเวอร์เตอร์ 12V เป็น 350V สำหรับส่งให้วงจรอินเวอร์เตอร์

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 10 กลุ่มของตัวขับกำลังภายในอินเวอร์เตอร์

รูปที่ 10 จะเป็นภาคการทำงานของส่วนขับกำลังอินเวอร์เตอร์ทางด้านเอาต์พุต โดยลักษณะวงจรจะต่อร่วมกันแบบ H-bridge (เพาเวอร์มอสเฟต IRF840) โดยรับแรงดันไฟเลี้ยงแรงดันสูงประมาณ 350V จากตัวเก็บประจุด้านซ้าย และเร็กติไฟร์จากไดโอดทั้ง 4 ตัวจากหม้อแปลงสวิตชิ่งใกล้กัน

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 11 เพาเวอร์มอสเฟตวงจรดีซี ทู ดีซี คอนเวอร์เตอร์

รูปที่ 11 แสดงภาคการทำงานของตัวขับกำลังวงจรดีซี ทู ดีซี คอนเวอร์เตอร์ และวงจรขับที่ขาเกตซึ่งในส่วนภาคการทำงานนี้จะใช้อุปกรณ์ไม่มากนักและเป็นลักษณะของวงจรที่เรียบง่าย

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 12 แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับทดลองอินเวอร์เตอร์

รูปที่ 12 เป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับทดลองอินเวอร์เตอร์ โดยในรูปที่แสดงเป็นค่ากำลังที่เกิดขึ้นในขณะวงจรสแตนบาย ซึ่งปรับค่าแรงดันทดสอบที่ 12V

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 13 สัญญาณขับเพาเวอร์มอสเฟตวงจรดีซี ทู ดีซี คอนเวอร์เตอร์

รูปที่ 13 แสดงลักษณะของสัญญาณขับเพาเวอร์มอสเฟตวงจรดีซี ทู ดีซี คอนเวอร์เตอร์ แบบพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์ โดยใช้ความถี่สวิตชิ่งที่ 36kHz และเพาเวอร์มอสเฟตสำหรับขับกำลังหม้อแปลงความถี่สูงเบอร์ IRF3205 เพื่อสร้างแหล่งจ่ายแรงดันสูงขึ้น

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 14 สัญญาณขับเพาเวอร์มอสเฟตสำหรับวงจรอินเวอร์เตอร์เอาต์พุต

รูปที่ 14 แสดงลักษณะของสัญญาณขับเพาเวอร์มอสเฟต H-bridge สำหรับวงจรอินเวอร์เตอร์เอาต์พุต โดยสัญญาณที่วัดนี้อยู่ที่ตำแหน่งขาเกต (Vgs) ของเพาเวอร์มอสเฟตด้านล่างทั้ง 2 ตัว

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 15 สัญญาณเอาต์พุตจากอินเวอร์เตอร์สำหรับจ่ายโหลด 220Vac

รูปที่ 15 เป็นการวัดสัญญาณที่เกิดขึ้นทางด้านเอาต์พุต (จ่ายกำลังไฟฟ้าให้โหลด 220Vac) ซึ่งจะเป็นลักษณะสี่เหลิ่ยม หรือเรียกว่า Modified sine wave ความถี่อยู่ที่ประมาณ 53Hz ค่าแรงดันเอาต์พุตเฉลี่ยประมาณ 220Vrms

Inside Mini Inverter 12V to 220V 500W
รูปที่ 16 ลักษณะการทดลองวงจรอินเวอร์เตอร์

รูปที่ 16 เป็นลักษณะการทดลองต่างๆ ของวงจรอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทั่วไป

สำหรับบทความนี้เป็นการนำเสนอการทำงานเบื้องต้นของวงจรอินเวอร์เตอร์ ด้วยการใช้นำอินเวอร์เตอร์ที่มีจำหน่ายทั่วไปมาศึกษาและแบ่งส่วนภาคการทำงาน เพื่อให้เห็นองค์ประกอบภายใน และเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ วงจรในลักษณะเดียวกันที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นครับ.

Reference

  1. https://www.ti.com/lit/ds/symlink/tl494.pdf?ts=1624505141881&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com%252F
  2. https://www.onsemi.com/pdf/datasheet/tl494-d.pdf
  3. https://web.wpi.edu/Pubs/E-project/Available/E-project-042507-092653/unrestricted/MQP_D_1_2.pdf
  4. https://www.onsemi.com/pub/Collateral/AN983-D.PDF
  5. https://sound-au.com/project89.htm
  6. https://www.instructables.com/200Watts-12V-to-220V-DC-DC-Converter/