Soldering Station V.3 T12 HAKKO Clone

อีกโครงงานหนึ่งกับการทดลองประกอบบอร์ดควบคุมหัวแร้ง T12 ของ HAKKO Clone ซึ่งเราสามารถหาซื้อได้ทั่วไป โดยลักษณะของบอร์ดนั้นจะเป็นการแสดงผลแบบดิจิตอลและมีโรตารี่สวิตช์ในการรับค่าอุณหภูมิตามที่ผู้ใช้ต้องการได้

Soldering Station V.3 T12  HAKKO Clone

จากการทดลองหาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับชุดหัวแร้งปรับอุณหภูมิได้นี้ มีหลายเว็บไซต์ได้ทำการทดลองและแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการต่อวงจร การทดสอบการทำงาน และวิธีการใช้งาน ซึ่งเราสามารถซื้อมาประกอบใช้งานเองได้ง่ายและที่สำคัญคือ คุณภาพของชุดหัวแร้งปรับอุณหภูมิได้นี้ดีพอสมควร

Soldering Station V.3 T12  HAKKO Clone

ในชุดที่เราซื้อมานี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญต่างๆ คือ บอร์ดควบคุม 1 บอร์ด คอนเน็กเตอร์ 5 ขาตัวผู้และตัวเมีย 1 คู่ LED แสดงผลการทำงานของ Heater element สายไฟสำหรับไฟเลี้ยงและลูกบิด 1 ตัวและเราสามารถประกอบส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันได้ง่าย

Soldering Station V.3 T12  HAKKO Clone
Soldering Station V.3 T12  HAKKO Clone

สำหรับหัวแร้งที่จะใช้กับบอร์ดควบคุมรุ่นนี้นั้น ใช้รุ่น T12 ของ KAKKO หรือลักษณะคล้ายกันได้แบบเดียวครับ ทั้งนี้ได้ทดลองใช้กับหัวแร้งรุ่น HAKKO 907 แล้วแต่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้เนื่อจากค่าความต้านทานของตัวเซนเซอร์ความร้อนไม่เท่ากัน

Soldering Station V.3 T12  HAKKO Clone

ลักษณะของหัวแร้ง T12 ของ KAKKO

Picture by : https://www.suhendro.com/2018/03/build-yourself-hakko-t12-compatible-soldering-iron-station/

Soldering Station V.3 T12  HAKKO Clone

กับบอร์ดควบคุมความร้อนหัวแร้งรุ่นนี้นั้น เรายังสามารถปรับแต่งลักษณะของการควบคุมอุณหภูมิตามที่เราต้องการได้ คือให้เรากดปุ่มเพื่อเข้าฟังก์ชั่นโปรแกรมการปรับจูนค่า PID Control และทดลองปรับค่าที่เหมาะ และการปรับแต่งค่าตัวแปร Kp, Ki, Kd ในสมการ PID Control ให้ความร้อนหัวแร้งได้ตามที่เราต้องการและเหมาะสม

การเชื่อมต่อสายระหว่างตัวหัวแร้งและคอนเน็กเตอร์
Green : Earth pin 1
Red : +ve power pin 2
Yellow : Switch pin 3
Blue : Switch pin 4
Black : -ve power pin 5

การต่อใช้งานของอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ไม่ยากมากครับ คือให้เรานำแหล่งจากไฟเลี้ยงกระแสตรงขนาด 24V/2A ต่อเข้ากับสายไฟรับไฟเลี้ยงของบอร์ดที่สายสีแดงและดำ (ที่ตำแหน่งคอนเน็กเตอร์ 3 เส้นบนแผ่นวงจร) โดยสายสีแดงเป็นขั้วบวกและสีดำเป็นขั้วลบ จากนั้นให้เราบัดกรีคอนเน็กเตอร์เข้ากับบอร์ด PCB แล้วนำหัวแร้งเข้ามาต่อด้วยกัน จากนั้นให้เราทดลองจ่ายไฟเลี้ยงเข้าวงจรและทดลองปรับควาร้อนของหัวแรงที่สวิตช์เพื่อให้ได้ความร้อนที่ต้องการครับ.

Reference

  1. https://www.davidpilling.com/wiki/index.php/SolderT12
  2. https://www.suhendro.com/2018/03/build-yourself-hakko-t12-compatible-soldering-iron-station/
  3. https://www.histo.cat/e/T12-solder-station-vs-JBC-mini
  4. https://radiomaster.com.ua/8884-payalnaya-stanciya.html
  5. https://www.allaboutcircuits.com/projects/do-it-yourself-soldering-station-with-an-atmega8/
  6. https://www.ebay.com/p/Digital-Soldering-Iron-Station-Temperature-Controller-Kit-for-Hakko-T12-Handle/793268890