Making a new Cover box for MIG welding machine

โครงงานนี้เป็นการทำกล่องภายนอกให้กับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ด้วยการป้อนลวดออกมาต่อเนื่อง MIG (Metal Inert Gas) ในโครงงานนี้จะใช้ลวดเชื่อมแบบไม่ต้องใช้แก๊ส ซึ่งจะใช้แผ่นอะคิลิกใสแทนการใช้ตัวกล่องแบบโลหะเดิม ทั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษาโครงสร้างภายในตัวเครื่องเชื่อม ถึงลักษณะของการทำงาน องค์ประกอบที่สำคัญต่างๆ โดยรูปแบบของการเชื่อมแบบ MIG welding machine นี้จะมีความแตกต่างจากการเชื่อมด้วยรูปแบบอื่นๆ ที่เราคุ้นเคยและยังที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง รวมทั้งเป็นการเรียนรู้การทำงานของตัวแอดมินเองและนำผลที่ได้จาการปรับปรุงใหม่มาแชร์ให้ผู้อ่าน ทั้งนี้โครงงานนี้จะไม่มีการทดลองการทำงานของวงจรมากนัก และจะขอนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบของรูปในขณะดำเนินการให้ตามลำดับจนเสร็จสิ้นครับ
***สำหรับการนำเสนอโครงงานนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเครื่องเชื่อมไฟฟ้า MIG อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้จัดทำไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับแบรนด์สินค้าที่นำเสนอ ทั้งนี้เนื้อหาที่นำเสนอเป็นความคิดเห็นส่วนตัวและสำหรับให้เป็นไอเดียอีกแบบหนึ่งสำหรับผู้อ่านเท่านั้นครับ



รูปที่ 3 อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับเครื่องเชื่อมไฟฟ้า MIG welding machine ที่มาในกล่อง ซึ่งสำหรับเครื่องเชื่อมแบรนด์นี้ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานทั่วไป รวมทั้งอุปกรณ์สำรองเพิ่มซึ่งคุ้มค่ามาก และพอสำหรับใช้ในการทดลองสำหรับมือใหม่ (แอดมินเองก็เริ่มต้นฝึกหัดเชื่อมเช่นกันครับ) และราคาไม่แพงมากนัก


รูปที่ 4 และรูปที่ 5 ถอดฝาครอบกล่อง จากนั้นสังเกตตำแหน่งรูเจาะบนแผ่านวงจรพิมพ์ (PCB) รวมทั้งรูยึดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในตัวเครื่องเชื่อม เช่น สวิตช์, แอลอีดีแสดงผล, จุดเชื่อมต่อการควบคุมการเชื่อม MIG และชุดฟืดลวดเชื่อม เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อนำมาวางเลเอาต์สำหรับทำกล่องใหม่แบบอคิลิกใส


รูปที่ 7 ถอดอุปกรณ์ต่างๆ จากกล่องเดิมออก และทำตำแหน่งจุดเชื่อมต่อ ถ่ายรูปลักษณะของการต่อสายไฟสัญญาณควบคุมและสายไฟสำหรับต่อกับปลั้ก 220Vac/50Hz


รูปที่ 8 และรูปที่ 9 แผ่นอคิลิกใสที่ใช้ในการทำกล่องเครื่องเชื่อมไฟฟ้า ซึ่งจะมี 2 ขนาดคือ 10mm สำหรับโครงสร้างภายในและขนาด 5mm สำหรับปิดด้านหน้าและด้านข้างของตัวกล่อง



รูปที่ 10 ถึงรูปที่ 12 เป็นลักษณะของการยึดอุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับกล่องอคิลิกทั้งหมดแล้วซึ่งจะย้ายมาจากกล่องเดิม โดยขนาดของตัวกล่องอคิลิกใสนี้จะมีขนาดใหญ่กว่ากล่อมเดิมเล็กน้อย เพื่อให้สามารถยึดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในได้ง่ายและมีระยะการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น



รูปที่ 14 และรูปที่ 15 เป็นลักษณะของมุมมองกล่องเครื่องเชื่อม MIG ด้านบน และการใส่มือจับให้กับตัวเครื่องเพิ่มเติมเพื่อให้ง่ายสำหรับการนำไปใช้งานจริง


รูปที่ 16 และรูปที่ 17 แสดงลักษณะของการยึดชุดฟีดลวดเชื่อมและการยึดล้อขดลวด รวมทั้งสายไฟสำหรับจ่ายกระแสเชื่อม (สายไฟสีแดง) ซึ่งจะต่อที่ชุดต่อด้านหน้า รวมทั้งจุดเชื่อมต่อสวิตช์ควบคุมการทำงานชุดฟีดที่จะวางไว้ในด้านเดียวกัน


ในรูปที่ 18 และรูปที่ 19 แสดงลักษณะของกล่องสำหรับเครื่องเชื่อม MIG ที่ทำเสร็จแล้ว และมองจากด้านข้างและมุมบน โดยจะเห็นลักษณะของการยึดบอร์ดอินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ต่างที่ต่อร่วมทั้งหมด


หลังจากทำกล่องให้กับเครื่องเชื่อม MIG welding machine แล้วก็สามารถใช้งานได้เป็นปกติ แต่รูปร่างและลักษณะจะแปลกตากว่าเดิมซึ่งเป็นที่ต้องการของแอดมินเอง ทั้งนี้ในทุกส่วนของแผ่นอคิลิกใสนั้น แอดมินเองไม่ได้ใช้กาวประสานแผ่นอคิลิกแต่อย่างใด แต่จะใช้สกรูเกลียวปล่อยในการยึดแต่ละชิ้นเข้าด้วยกันและเจาะรูด้านหน้าและด้านหลังเพื่อยึดอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับให้สามารถใช้งานทั่วไป
Reference
- https://www.weldability-sif.com/media/docs/Intro_MIG_Welding.pdf
- https://www.r-techwelding.co.uk/Downloads/Free_How_to_do_MIG_Welding_Guide.pdf
- https://www.boconline.co.uk/wcsstore/IE_BOC_Industrial_Ntl_Store/pdf/downloads/MIG-welding.pdf
- https://www.sisabsweden.se/uploads/f72c5596c6b92f7b87e36bc43ae59de2.pdf
- https://www.carlisle.k12.ky.us/userfiles/1044/Classes/6685/GMAW%20PPT.pdf
- https://www.st.com/resource/en/application_note/an4929-h-series-1200-v-igbts-on-3phase-fullbridge-dcdc-power-converter-welding-machine-stmicroelectronics.pdf
- https://www.mdpi.com/2079-9292/8/2/205/pdf-vor
- https://www.tooled-up.com/artwork/ProdPDF/00587ins.pdf