BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontroller

โครงงานต้นแบบควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าด้วยเพาเวอร์ไตรแอกเบอร์ BTA41600B ที่ทำงานร่วมกับออปโต้คัปเปิลเบอร์ MOC3081 สำหรับกำหนดการนำกระแสของเพาเวอร์ไตรแอกที่มุม 0 องศา (Zero-Cross Optoisolators) ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดการเกิดสัญญาณรบกวนบนแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า 220Vac (Minimize Conducted and Radiated Line Noise) และทำให้เพาเวอร์ไตรแอกทำงานได้อย่างนิ่มนวลในช่วงของการเริ่มนำกระแส โดยโครงงานนี้มีแนวความคิดของการออกแบบเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานแบบทั่วไปหรือใช้งานร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ง่าย

BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 1 ลักษณะกล่องควบคุมกำลังไฟฟ้าด้วยเพาเวอร์ไตรแอก (ด้านหน้า)
BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 2 ลักษณะกล่องควบคุมกำลังไฟฟ้าด้วยเพาเวอร์ไตรแอก (ด้านหลัง) และสายคอนเน็กเตอร์ควบคุมการทำงาน
BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 3 ลักษณะการต่อวงจรภายในของกล่องวงจรควบคุมกำลังไฟฟ้า

รูปที่ 3 แสดงวงจรภายในกล่องที่ใช้การต่อสายไฟแบบง่าย และยังคงใช้แผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) อเนกประสงค์ในการทำงวงจรต้นแบบ โดยให้ตัวเพาเวอร์ไตรแอกยึดเข้ากับแผ่นระบายความร้อนก่อน (Heat sink) และจากนั้นจึงนำวงจรและอุปกรณ์ทั้งหมดมาประกอบในกล่องให้เรียบร้อยอีกครั้ง

BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 4 เพาเวอร์ไตรแอกเบอร์ BTA41600B

รูปที่ 4 เป็นลักษณะของตัวถังเพาเวอร์ไตรแอกที่ใช้งาน, วงจรสนับเบอร์, ออปโต้คัปเปิ้ล, ตัวเหนี่ยวนำ, เทอร์มิสเตอร์ตรวจจับความร้อน (Thermistor) ให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์และเทอร์โมสตัด (Thermostat) ป้องกันความร้อนสูงเกินที่กำหนดอีกส่วนหนึ่ง

BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 5 ลักษณะการเตรียมการทดลองวงจรควบคุมกำลังไฟฟ้า
BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 6 โหลดเตารีดที่ใช้ในการทดลอง

รูปที่ 6 โหลดเตารีดขนาด 1000 วัตต์ (ในรูปตรงกลางลักษณะ 3 เหลี่ยม) ที่ใช้ในการทดลองการทำงานของการขับกำลังสำหรับเพาเวอร์ไตรแอก ซึ่งจะรับกำลังไฟฟ้าที่กระแสสลับ 220Vac/50Hz อุปกรณ์อีกตัวหนึ่งเป็นกล่องสัน้ำเงิน (ด้านซ้ายมือ) จะเป็นตัวลดทอนสัญญาณจากไฟฟ้า 220Vac ลง (แบบสร้างขึ้นเองในงบประหยัดครับ) สำหรับต่อเข้ามายังออสซิลโลสโคปเพื่อวัดสัญญาณคล้ายกับ Differential Probe

BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 7 การต่อปลั๊กสำหรับรับและจ่ายกำลังไฟฟ้า 220Vac/50-60Hz

รูปที่ 7 แสดงด้านหลังกล่องและการต่อสายไฟเพื่อใช้งาน ซึ่งจะมีส่วนของปลั๊กรับกำลังไฟฟ้าเข้า (Inlet power box) ด้านขวามมือ ส่วนของการจ่ายกำลังไฟฟ้าไปยังโหลด (Power Box AC outlet) และส่วนของคอนเน็กเตอร์รับสัญญาณควบคุมและส่งสัญญาณไปยังตัวประมวลผลต่างๆ

BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 8 เมื่อวงจรถูกควบคุมด้วยระดับสัญญาณ TTL

รูปที่ 8 ลักษณะการแสดงผลให้ทราบด้วยตัวแอลอีดีสีแดงด้านหน้า เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบ ทั้งนี้เมื่อมีสัญญาณควบคุมเข้ามาเป็นลอจิก 1 (+5VDC ที่ขา TTL Driver) แอลอีดีจะติดสว่างขึ้นโดยในช่วงเวลานี้ที่ตำแหน่งเอาต์พุตจะจ่ายกำลังไฟฟ้า 220Vac/50Hz ไปยังโหลดเป็นที่เรียบร้อบแล้ว

BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 9 ลักษณะของการจ่ายสัญญาณในการทดลองวงจร

รูปที่ 9 เป็นรูปแสดงลักษณะของการทดลองจ่ายสัญญาณควบคุมการทำงานให้กับเพาเวอร์ไตรแอก โดยการใช้แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงขนาด 5VDC จ่ายเข้าไปที่ขาขับของตัวออปโต้คัปเปิ้ล (TTL Driver) ดูในรูปที่ 14 ประกอบ สำหรับในการทดลองการทำงานของตัววงจร

BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 10 การทำงานของวงจรทั้งหมด
BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 11 การใช้แคล้มมิเตอร์วัดการแสที่ไหลผ่านโหลด

รูปที่ 11 แสดงการวัดค่ากระแสเอาต์พุตจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 220Vac/50Hz ด้วยแคล้มมิเตอร์ โดยกระแสที่วัดได้ประมาณ 4.39A

BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 12 สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับที่จ่ายไปยังโหลด

รูปที่ 12 เป็นลักษณะของสัญญาณเอาต์พุตไฟฟ้ากระแสสลับ 220Vac เมื่อมีสัญญาณควบคุมระดับ TTL เข้ามา โดยสัญญาณนี้จะเป็นการวัดขณะต่อร่วมกับโหลดขนาด 1000 วัตต์ในการทดลอง

BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 13 ลักษณะของการทดลองโครงงานทั้งหมด
BTA41600B Power Triac Control 2000W for Microcontrolls
รูปที่ 14 วงจรที่ออกแบบและใช้ในการทดลองโครงงาน

สำหรับโครงงานนี้จากที่ได้ทดลองให้จ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับโหลดที่ประมาณ 1000 วัตต์นั้น ตัวเพาเวอร์ไตรแอกทำงานได้เป็นปกติและไม่เกิดความร้อนมากจนเกินไป ทั้งนี้ในตัววงจรแอดมินออกแบบส่วนของการป้องกันความร้อนให้กับเพาเวอร์ไตรแอกเพิ่มเติม 2 แบบคือ ส่วนแรกในกรณีความร้อนเกิน 85 องศา ตัวเทอร์โมสตัดจะหยุดการทำงานทันทีเพื่อป้องกันความเสียหายและส่วนที่ 2 จะเป็นเทอร์มิสเตอร์ (NTC 100K) โดยส่วนนี้สามารถจะตรวจจับค่าความร้อนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและสามารถใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ กำหนดการทำงานที่อุณหภูมิต่างๆ ได้ตามต้องการครับ.

Reference

  1. https://www.st.com/resource/en/datasheet/bta41.pdf
  2. https://www.st.com/content/ccc/resource/technical/document/application_note/42/4a/77/9a/f5/58/43/77/CD00004000.pdf/files/CD00004000.pdf/jcr:content/translations/en.CD00004000.pdf
  3. https://www.st.com/resource/en/application_note/an440-triac-control-with-a-microcontroller-powered-from-a-positive-supply-stmicroelectronics.pdf
  4. https://www.st.com/resource/en/application_note/dm00451014-controlling-a-triac-with-a-phototriac-stmicroelectronics.pdf
  5. https://www.mouser.jp/datasheet/2/389/steval-iht005v2-1848447.pdf
  6. https://www.onsemi.com/pdf/datasheet/moc3083m-d.pdf
  7. https://www.vishay.com/docs/84780/appnote34.pdf
  8. http://ww1.microchip.com/downloads/en/appnotes/00958a.pdf
  9. http://www.farnell.com/datasheets/1836360.pdf
  10. https://www.nxp.com/docs/en/application-note/AN2839.pdf