Testing the Push-Pull Converter using UCC3808 PWM Controller [LEP]

สำหรับตอนสุดท้ายของโครงงานวงจรพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์ จะเป็นการทดลองและทดสอบเบื้องต้นของการทำงาน ร่วมกันระหว่างบอร์ดควบคุมและวงจรขับกำลังที่ได้นำเสนอมาทั้ง 2 โครงงาน ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจการทำงานของไอซีเพิ่มขึ้น รวมทั้งการปรับแต่งวงจรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ซึ่งในการทดลองครั้งนี้จะใช้ค่าแรงดันอินพุตที่ 55 โวลต์ กำหนดค่าแรงดันเอาต์พุตที่ประมาณ 12 โวลต์ และให้วงจรทดลองการจ่ายกระแสที่ 100mA, 200mA และ 300mA ตามลำดับ

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 1 เตรียมการทดลองและทดสอบวงจรพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์

รูปที่ 1 แสดงเตรียมการทดลองและทดสอบวงจรพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์ โดยมัลติมิเตอร์ทางด้านซ้ายจะใช้ในการวัดค่าแรงดันอินพุตและทางด้านขวาจะวัดค่าแรงดันเอาต์พุต รวมทั้งแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง, ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณให้กับบอร์ดควบคุมและวงจรพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 2 ลักษณะบอร์ดขับกำลังพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์

รูปที่ 2 เป็นลักษณะของบอร์ดขับกำลังพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์ ที่ต่อวงจรเสร็จเรียบร้อย ทั้งในส่วนไฟเลี้ยงโหลดและการวัดสัญญาณ

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 3 บอร์ดควบคุมด้วยไอซี UCC3808A

รูปที่ 3 แสดงบอร์ดควบคุมด้วยไอซี UCC3808A ซึ่งจะใช้ไฟเลี้ยงแยกอีกชุดหนึ่งขนาด 12 โวลต์ ที่ตำแหน่งปากคีบสีแดงและสีดำ

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 4 มัลติมิเตอร์แสดงค่าแรงดันอินพุตในการทดลอง

ในรูปที่ 4 เป็นการใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าแรงดันอินพุตสำหรับวงจรพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์ในการทดลอง โดยในช่วงโหมดสแตนบายจะมีค่าเท่า 55.8 โวลต์

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 5 สัญญาณขับกำลังที่ขาเกต (OUTA/OUTB) ในขณะวงจรสแตนบาย

รูปที่ 5 สัญญาณขับกำลังที่ขาเกต (OUTA/OUTB) ในขณะวงจรสแตนบาย จะสังเกตเห็นลักษณะของสัญญาพัลซ์เป็นช่วงกว้างๆ ซึ่งจะเป็นลักษณะการทำงานในการควบคุมโหมดกระแส (Current Mode)

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 6 ตัวต้านทานโหลดในการทดสอบ (1)
Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 7 ตัวต้านทานโหลดในการทดสอบ (2)

ในรูปที่ 6 และรูปที่ 7 แสดงตัวต้านทานโหลดที่ใช้ในการทดสอบวงจรขนาด 220 โอห์ม 30 วัตต์ ขนานกัน 2 ตัว (เท่ากับ110โอห์ม) และต่อแบบอนุกรมอีกครั้งอีก 5 ชุด เพื่อให้เราทดสอบกระแสโหลดที่ค่าต่างๆ

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 8 มัลติมิเตอร์แสดงค่าแรงดันเอาต์พุตขนาดไม่ได้ต่อโหลด

รูปที่ 8 มัลติมิเตอร์แสดงค่าแรงดันเอาต์พุตขนาดไม่ได้ต่อโหลดจะมีค่าประมาณ 12.38 โวลต์

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 9 แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงกระแสตรงที่ใช้ในการทดลอง

รูปที่ 9 แสดงปริมาณกระแสของแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงขณะวงจรสแตนบายที่เกิดขึ้นจากการทดลอง (จะมีค่าค่อนข้างน้อยมาก ประมาณไม่เกิน 50mA)

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 10 สัญญาณที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 1

รูปที่ 10 ลักษณะของสัญญาณที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 1 โดยการต่อโหลดที่ค่า 110 โอห์ม และวงจรจ่ายกระแสที่ประมาณ 100mA ซึ่งเราจะเห็นว่าช่วงของกลุ่มสัญญาณขับจะมีค่าเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองต่อโหลดและรักษาค่าแรงดันเอาต์พุตให้คงที่

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 11 แสดงค่าแรงดันอินพุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 1

รูปที่ 11 ค่าแรงดันอินพุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 1 มีค่าคงที่ 55 โวลต์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 12 ค่าแรงดันเอาต์พุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 1

รูปที่ 12 ค่าแรงดันเอาต์พุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 1 ค่าแรงดันเอาต์พุตจะอยู่ที่ประมาณ 12.06 โวลต์

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 13 สัญญาณที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 2

รูปที่ 13 สัญญาณที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 2 โดยการต่อโหลดที่ค่า 55 โอห์ม และวงจรจ่ายกระแสที่ประมาณ 200mA ซึ่งเราจะเห็นว่าช่วงของกลุ่มสัญญาณขับจะมีค่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อโหลดและรักษาค่าแรงดันเอาต์พุตให้คงที่เช่นเดิม

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 14 แสดงค่าแรงดันอินพุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 2

รูปที่ 14 ค่าแรงดันอินพุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 2 มีค่าคงที่ 55 โวลต์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยเช่นเดิม

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 15 ค่าแรงดันเอาต์พุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 2

รูปที่ 15 ค่าแรงดันเอาต์พุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 2 ค่าแรงดันเอาต์พุตจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 11.97 โวลต์

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 16 แสดงตัวต้านทานที่เราต่อขนาน 2 ตัว เพื่อเพิ่มกระแสโหลด

รูปที่ 16 การต่อตัวต้านทานขนาน 2 ตัว เพื่อเพิ่มกระแสโหลดโดยใช้ปากคีบซึ่งจะมีค่าประมาณ 55 โอห์ม (110 Ohm ขนานกับ 110 Ohm = 55 Ohm)

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 17 สัญญาณที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 3 (รูปที่ 1)

รูปที่ 17 สัญญาณที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 3 โดยการต่อโหลดที่ค่า 55 โอห์ม และวงจรจ่ายกระแสที่ประมาณ 300mA ซึ่งเราจะเห็นว่าช่วงของกลุ่มสัญญาณขับจะมีเพิ่มขึ้นตลอดช่วง

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 18 สัญญาณที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 3 (รูปที่ 2)

รูปที่ 18 แสดงสัญญาณที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 3 (รูปที่ 2) โดยการปรับค่าการแสดงผลบนจอออสซิลโลสโคปให้ดูได้ง่าย ซึ่งเราจะเห็นค่าความถี่สวิตชิ่งและความกว้างของดิวตี้ไซเกิล (Duty Cycle) ที่เกิดขึ้น

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 19 แสดงค่าแรงดันอินพุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 3

รูปที่ 19 ค่าแรงดันอินพุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 3 มีค่าคงที่ 55 โวลต์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 20 ค่าแรงดันเอาต์พุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 3

รูปที่ 20 แสดงค่าแรงดันเอาต์พุตที่เกิดขึ้นจากการทดลองครั้งที่ 3 สังเกตเห็นว่าค่าแรงดันเอาต์พุตลดลงมาที่ประมาณ 11.31 โวลต์ หรือคิดเป็น 5.75 เปอร์เซนต์

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 21 แสดงตัวต้านทานที่เราต่อขนาน 3 ตัว เพื่อเพิ่มกระแสโหลด

รูปที่ 21 แสดงการต่อตัวต้านทานขนานกัน 3 ตัว เพื่อทดสอบกระแสโหลดที่ประมาณ 330mA (12V/36 Ohm = 330mA)

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 22 แสดงแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงกระแสตรงสำหรับใช้ในการทดลอง

รูปที่ 22 แสดงแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงกระแสตรงสำหรับใช้ในการทดลอง 2 ตัว โดยทั้ง 2 ตัวจะต่ออนุกรมกัน ซึ่งในรูปจะแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงตัวข้างบนจะจ่ายแรงดันที่ 40 โวลต์และตัวข้างล่างจะจ่ายที่ 15 โวลต์ ฉะนั้นแรงดันรวมที่ใช้ในการทดสอบประมาณ 55 โวลต์

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 23 แสดงลักษณะการต่อวงจรต่างๆ, การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการทดลองโครงงาน

รูปที่ 23 แสดงลักษณะการทดลองวงจรพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์ การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ

Test push-pull converter using the UCC3808 PWM Controller
รูปที่ 24 วงจรสมบูรณ์ที่ใช้ในการทดลองโครงงาน

จากในรูปที่ 24 เป็นวงจรที่ใช้ในการทดสอบโครงงานครั้งนี้ ซึ่งในส่วนของบอร์ดควบคุมจะถูกปรับให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น ด้วยการเอาส่วนของออปโต้คัปเปิ้ลออก (TLP250) และในส่วนของวงจรพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์ยังคงใช้ลักษณะเดิมและแสดงให้เห็นอยู่ด้านล่างของรูป

สำหรับการทดลองโครงงานวงจรพุช-พูล คอนเวอร์เตอร์ ที่ใช้ไอซีควบคุมเบอร์ UCC3808A ครั้งนี้ คงจะช่วยให้ผู้อ่านได้เห็นลักษณะการทำงาน, การทดลองและการทดสอบวงจร รวมถึงการออกแบบวงจรเบื้องต้น ซึ่งพอจะเป็นแนวทางอีกรูปแบบหนึ่งและอาจจะเป็นประโยชน์ได้บ้างนะครับ สำหรับในส่วนของวงจรรูปที่ 24 ผู้อ่านสามารถนำไปปรับปรุงหรือประยุกต์ใช้งานในลักษณะต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมครับ.

Reference

  1. https://www.ti.com/lit/ds/symlink/ucc3808-1.pdf?ts=1626574921194&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.ti.com%252Fproduct%252FUCC3808-1
  2. https://www.ti.com/lit/ds/symlink/ucc3808a-1.pdf?ts=1626574522339&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.ti.com%252Fproduct%252FUCC3808A-1
  3. http://educypedia.karadimov.info/library/LM5030_Push-Pull-12V-60W-2001i-new-4.pdf
  4. https://www.dialog-semiconductor.com/sites/default/files/an-cm-232_low_power_dc-to-dc_converter.pdf
  5. https://www.bourns.com/docs/technical-documents/technical-library/inductive-components/application-notes/bourns-hct-transformer-for-12v-applications-app-note.pdf?sfvrsn=99b049f6_12
  6. https://www.koreascience.or.kr/article/JAKO201707457887919.pdf
  7. https://pdf.dzsc.com/8N-/UCC2808N-1_1173316.pdf
  8. https://e2e.ti.com/support/power-management-group/power-management/f/power-management-forum/770287/ucc3808-2-ucc3808-slope-compensation
  9. https://e2e.ti.com/support/power-management-group/power-management/f/power-management-forum/825297/ucc3808-2-fluctuating-output-issue