Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO

สำหรับโครงงานนี้เป็นการควบคุมกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ (AC-AC Converters) อีกแบบหนึ่ง ในลักษณะของ AC Chopper หรือเรียก Phase Angle Controlled (PAC) โดยมีรูปแบบการทำงานที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ด้วยการใช้เพาเวอร์บริดจ์ไดโอดร่วมกับสวิตช์กำลัง เช่น เพาเวอร์ไอจีบีทีและเพาเวอร์มอสเฟต และการควบคุมปริมาณการจ่ายกำลังไฟฟ้าจากอุปกรณ์ดังกล่าวจะใช้สัญญาณพัลซ์วิดมอดูเลชั่นเป็นตัวกำหนด ซึ่งสามารถเลือกใช้วงจรกำเนิดได้หลายลักษณะตามที่ออกแบบต้องการ ทั้งนี้ตัวโครงงานที่นำเสนอนี้จะเป็นต้นแบบขนาดเล็กเพื่อให้เข้าใจการทำงานเบื้องต้นและใช้บอร์ดควบคุม Arduino UNO ในการสร้างสัญญาณพัลซ์วิดมอดูเลชั่นและตรวจจับกระแสที่เกิดขึ้นนั้นเอง

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 1 เตรียมอุปกรณ์สำหรับประกอบโครงงาน
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 2 ทดลองวางอุปกรณ์ขับกำลังบนฮีตซิ้งและเจาะรูยึด

ในรูปที่ 1 และรูปที่ 2 เป็นการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับประกอบโครงงานและการวางเลย์เอาต์อุปกรณ์ขับกำลังบนแผ่นฮีตซิ้งเพื่อยึดเข้าด้วยกัน

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 3 เริ่มประกอบเพาเวอร์ไอจีบีที
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 4 ลักษณะการยึดเพาเวอร์ไอจีบีทีบนฮีตซิ้ง

รูปที่ 3 และรูปที่ 4 แสดงการยึดเพาเวอร์ไอจีบีทีเข้ากับแผ่นฮีตซิ้งระบายความร้อนและการบัดกรีขาเข้ากับแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) โดยให้แผ่ยวงจรพิมพ์วางเป็นแนวตั้ง

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 5 ลักษณะการประกอบโครงงานเสร็จแล้ว (1)
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 6 ลักษณะการประกอบโครงงานเสร็จแล้ว (2)

รูปที่ 5 และรูปที่ 6 แสดงการประกอบโครงงานเสร็จแล้ว จากนั้นทดลองการทำงานของตัวออปโต้คัปเปิ้ล (TLP250) ด้วยการจ่ายไฟเลี้ยงที่ประมาณ 15VDC สำหรับสร้างสัญญาณขับให้กับตัวเพาเวอร์ไอจีบีที โดยในส่วนของวงจรนี้จะมีแอลอีดีแสดงผลให้ทราบเมื่อได้รับไฟเลี้ยงแล้ว

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 7 การทดลองโครงงานเบื้องต้น

รูปที่ 7 เป็นการทดลองการทำงานของตัววงจรด้วยการจ่ายแรงดันให้กับออปโต้คัปเปิ้ลเท่ากับ 5VDC เพื่อจำลองในลักษณะของสัญญาณ TTL เพื่อสังเกตการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 8 ลักษณะการประกอบเข้ากับฮีตซิ้ง (1)
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 9 ลักษณะการประกอบเข้ากับฮีตซิ้ง (2)

รูปที่ 8 และรูปที่ 9 ลักษณะการประกอบไอจีบีทีและไดโอดบริดจ์เสร็จเรียบร้อย รวมทั้งการเชื่อมต่อสายไฟสำหรับควบคุมการทำงานรวมทั้งรับไฟเลี้ยงแรงดันสูง 220VAC ทางด้านอินพุตและเอาต์พุตด้วยเช่นกัน

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 10 การประกอบโครงานร่วมกับบอร์ดควบคุม Arduino UNO
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 11 การใช้หม้อแปลงตรวจจับกระแสเพิ่มเติม

ในรูปที่ 11 เป็นการใช้หม้อแปลงตรวจจับกระแสเพิ่มเติม (Current Transformer : CT) เพื่อให้สามารถควบคุมปริมาณกระแสที่ไหลผ่านวงจรได้ตามที่กำหนด ทั้งนี้การควบคุมปริมาณกระแสจะเป็นการกำหนดโดยการเปลี่ยนค่าในตัวโปรแกรมเท่านั้น

/*
 *Project PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
       MCU : Arduino UNO
       Fsw PWM :  15kHz
       Power SW : IGBT 
       AC Power control : 100W (COP)
       Dev by : www.electronicsdna.com
       Date : 26-11-2022 (V.0)
 */

#include <PWM.h>

int32_t frequency = 15000; //frequency (in Hz)
int PWM = 0;
int AdjPWM = 0;
int Is = 0; 

void setup()
{
  //initialize all timers except for 0, to save time keeping functions
  InitTimersSafe(); 
  Serial.begin(9600); 
  //sets the frequency for the specified pin
  bool success = SetPinFrequencySafe(3, frequency);
  
  //if the pin frequency was set successfully, turn pin 3 on
  if(success) {
    pinMode(3, OUTPUT); 
  }
} 

void loop()
{
  Serial.print(" VAdj  ");
  AdjPWM = analogRead(A0);  
  PWM = (AdjPWM/4) ;
  Serial.print(PWM);
  pwmWrite(3,PWM);
   
  Serial.print(", Is  ");
  Is = analogRead(A1); 
  Serial.println(Is); 
  delay(100);      
}

Download Arduino Library ——> PWM.h

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 12 ลักษณะการต่ออุปกรณ์ต่างๆ สำหรับทดลอง
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 13 การทดลองที่ 1 ปรับค่าดิวตี้ไซเกิลประมาณ 30%
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 14 ผลที่ได้จากการทดลองที่ 1

รูปที่ 13 และรูปที่ 14 เป็นการทดลองที่ 1 โดยการปรับค่าดิวตี้ไซเกิลประมาณ 30% สำหรับสัญญาณพัลซ์วิดมอดูเลชั่น จากนั้นสังเกตความสว่างของหลอดไฟ (หลอดไฟขนาด100 วัตต์) ที่นำมาต่อเป็นโหลด (RL) และใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์วัดแรงดันที่ตกคร่อมหลอดไฟและค่าที่ได้ประมาณ 57.1VAC

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 15 การทดลองที่ 2 ปรับค่าดิวตี้ไซเกิลประมาณ 50%
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 16 ผลที่ได้จากการทดลองที่ 2

รูปที่ 15 และรูปที่ 16 เป็นการทดลองที่ 2 ด้วยการปรับค่าดิวตี้ไซเกิลเพิ่มขึ้นประมาณ 50% จากนั้นสังเกตความสว่างของหลอดไฟและค่าที่อ่านได้จากดิจิตอลมัลติมิเตอร์ โดยค่าแรงดันที่ตกคร่อมหลอดไฟที่ได้ประมาณ 104.6VAC

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 17 การทดลองที่ 3 ปรับค่าดิวตี้ไซเกิลประมาณ 80%
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 18 ผลที่ได้จากการทดลองที่ 3

สำหรับในรูปที่ 17 และรูปที่ 18 เป็นการทดลองที่ 3 เช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 และ 2 ปรับค่าดิวตี้ไซเกิลเพิ่มขึ้นประมาณ 80% จากนั้นสังเกตความสว่างของหลอดไฟและค่าที่อ่านได้จากดิจิตอลมัลติมิเตอร์ โดยค่าแรงดันที่ตกคร่อมหลอดไฟที่ได้ประมาณ 155.9VAC

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 19 การทดลองที่ 4 ปรับค่าดิวตี้ไซเกิล 100%
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 20 ผลที่ได้จากการทดลองที่ 4

ในรูปที่ 19 และรูปที่ 20 การทดลองที่ 4 ทดลองปรับค่าดิวตี้ไซเกิลไปที่่ 100% ซึ่งผลที่ได้จะทำให้การจ่ายกำลังไฟฟ้าระหว่างอินพุตและเอาต์พุตใกล้เคียงกัน โดยค่าแรงดันเอาต์พุตที่วัดค่าได้เท่ากับ 219VAC และสังเกตความสว่างของหลอดไฟจะเหมือนการใช้งานปกติทั่วไป

Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 21 วงจรที่ออกแบบและใช้ในการทดลองโครงงาน
Simple PWM AC Chopper Control by Using Arduino UNO
รูปที่ 22 แสดงลักษณะของการทดลองโครงงาน

สำหรับโครงงานการควบคุมกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ (AC-AC Converters) แบบใช้วิธีไดโอด 4 ตัวฟูลเวฟร่วมกับสวิตช์กำลัง เป็นวงจรขนาดเล็กเพื่อเรียนรู้การทำงานของวงจรคอนเวอร์เตอร์ในรูปแบบไฟฟ้ากระแสสลับในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งจากการทดลองการทำงานที่นำเสนอนี้ตัววงจรสามารถใช้งานได้ดีและความร้อนที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ขับกำลังไม่สูงมากนัก ซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์สำหรับใช้งานต่างๆ ตามที่ต้องการครับ.

Reference

  1. http://www.ijeert.org/pdf/v2-i1/7.pdf
  2. https://www.researchgate.net/publication/266462950_Implementation_of_SHE-PWM_Switching_Method_for_ACAC_Converters
  3. https://forum.arduino.cc/t/controlling-two-ac-devices-device-turning-on-incorrectly/489445
  4. https://www.semanticscholar.org/paper/Soft-starting-control-of-single-phase-induction-PWM-Thanyaphirak-Kinnares/a2a23048fd6103a3b5e7a27afdbbbf8d4f52704f
  5. https://odayahmeduot.files.wordpress.com/2015/12/lecture-09.pdf
  6. https://aws1.discourse-cdn.com/arduino/original/3X/2/7/270f10a77eeb22672edecc4138e2be9f3033a248.pdf
  7. https://www.brainkart.com/article/AC-to-AC-Converters_12591/