Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT

สำหรับโครงงานนี้เกิดขึ้นจากไอเดียของการที่จะทำให้ไอซี LM2575HVT สามารถจ่ายกำลังทางด้านเอาต์พุตเพิ่มขึ้น ซึ่งเดิมนั้นตัวไอซี LM2575HVT จะสามารถจ่ายกระแสทางด้านเอาต์พุตได้ 1A (Maximum Output Current) ด้วยการนำไอซี LM2575HVT มาทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม, รับสัญญาณป้อนกลับและจ่ายสัญญาณขับเท่านั้น จากนั้นจะออกแบบวงจรขับกำลังใหม่ให้สามารถรับสัญญาณควบคุมจากไอซีตัวนี้ได้ โดยชุดขับกำลังจะเป็นแบบซิงโครนัส บักคอนเวอร์เตอร์ (Synchronous Buck Converter) ซึ่งจะช่วยให้การจ่ายกำลังทางด้านเอาต์พุตมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 1 เตรียมอุปกรณ์สำหรับประกอบโครงงาน (วงจรขับกำลัง)
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 2 บอร์ดต้นแบบวงจรขับกำลังที่ประกอบเสร็จแล้ว

รูปที่ 1 และรูปที่ 2 เป็นการเตรียมอุปกรณ์สำหรับหรับประกอบวงจรต้นแบบในส่วนของวงจรขับกำลังซิงโครนัสบักคอนเวอร์เตอร์ (Synchronous Buck Converter) โดยจะประกอบบนแผ่นวงจรพิมพ์อเนกประสงค์ ซึ่งลักษณะของบอร์ดที่ประกอบเสร็จแล้วดังแสดงในรูปที่ 2

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 3 การทดลองการทำงานบอร์ดขับกำลัง

รูปที่ 3 เป็นการทดลองวงจรในส่วนของบอร์ดขับกำลังที่ประกอบเสร็จ ร่วมกับโครงงาน Prototype Mini Buck Converter Using LM2575HVT-ADJ (ซึ่งได้นำเสนอก่อนหน้านี้) เพื่อตรวจสอบการทำงานร่วมกันของการส่งสัญญาณได้อย่างถูกต้อง วงจรให้ประสิทธิภาพการทำงานดี รวมทั้งจ่ายกำลังทางด้านเอาต์พุตเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับโครงงานที่นำเสนอก่อนหน้านี้

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 4 เตรียมอุปกรณ์ประกอบโครงงาน (วงจรควบคุม)
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 5 บอร์ดควบคุมที่ใช้ไอซี LM2575HVT

รูปทึ่ 4 และรูปที่ 5 แสดงบอร์ดควบคุมที่ใช้ไอซี LM2575HVT ที่ประกอบขึ้นมาใหม่ สำหรับใช้งานร่วมกับบอร์ดขับกำลังที่นำไปทดลองการทำงานเบื้องต้นแล้ว โดยบอรืดควบคุมที่ประกอบใหม่นี้จะใช้แผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) แบบใช้งานทั่วไปแล้วนำมาทำลายวงจรด้านบนด้วยเครื่องเจียรขนาดเล็ก

Datasheet for Switching Regulator LM2575HVT

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 6 การเชื่อมต่อระหว่างบอร์ดควบคุมและบอร์ดขับกำลังในการทดลอง (1)
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 7 การเชื่อมต่อระหว่างบอร์ดควบคุมและบอร์ดขับกำลังในการทดลอง (2)

รูปที่ 6 และรูปที่ 7 ลักษณะการเชื่อมต่อระหว่างบอร์ดควบคุมด้วยไอซี LM2575HVT และบอร์ดขับกำลังซิงโครนัสบักคอนเวอร์เตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใหม่ทั้ง 2 ส่วน และลักษณะของทั่วไปของการทดลองให้กับวงจรที่ออกแบบใหม่สำหรับโครงงานนี้

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 8 ค่าแรงดันอินพุตสำหรับทดลองที่ประมาณ 40V
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 9 แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับการทดลองขนาด 40V/5A
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 10 ค่าแรงดันเอาต์พุตที่กำหนดประมาณ 12V
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 11 สัญญาณพัลซ์วิดมอดูเลตชั่น (PWM Signal) ขณะวงจรสแตนบาย
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 12 ตัวต้านทานโหลดในการทดลองขนาด 2.2 โอห์ม 30 วัตต์ 4 ตัว
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 13 ลักษณะของการเตรียมการทดลอง

สำหรับในรูปที่ 8 รูปที่ 13 จะเป็นการเตรียมการทดลองวงจรที่ประกอบขึ้น โดยจะทำการทดลองในเบื้องต้นก่อน ด้วยการกำหนดค่าแรงดันอินพุตและเอาต์พุตสำหรับการทดลอง ตรวจสอบลักษณะของสัญญาณขับพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องเป็นปกติก่อนนำไปทดลองจ่ายกระแสโหลดอีกครั้ง

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 14 การทดลองที่ 1 เมื่อทดลองให้วงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 5.49A
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 15 การทดลองที่ 1 ค่าแรงดันเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 5.49A

ในรูปที่ 15 จะเห็นว่าค่าแรงดันเอาต์พุตวัดได้ 12.29V ลดบ้างเล็กน้อยในขณะจ่ายกระแสโหลดที่ 5.49A (ประมาณ 67.47 วัตต์) เมื่อเทียบกับวงจรอยู่ในสถานะสแตนบาย (แรงดันเอาต์พุตลดลง 0.08V)

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 16 การทดลองที่ 1 สัญญาณพัลซ์วิดมอดูเลตชั่นที่ตอบสนองต่อกระแสโหลด 5.49A
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 17 ลักษณะทั่วไปของการทดลองที่ 1

รูปที่ 14 รูปที่ 17 แสดงการทดลองที่ 1 ด้วยการให้วงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 5.49A และแรงดันเอาต์พุตที่ 12.29V จากนั้นสังเกตการทำงานขอวงจรในเรื่องของความร้อนที่เกิดขึ้นกับตัวขับสวิตชิ่งกำลัง (เพาเวอร์มอสเฟต) รวมทั้งสัญญา่ณพัลวิดมอดูเลตชั่นที่ตอบสนอง เพื่อให้แรงดันเอาต์พุตยังคงที่ ซึ่งจากการทดลองความร้อนตัวขับสวิตชิ่งกำลังไม่สูงมากนัก สามารถทำงานต่อเนื่อง (Continuous Power : COP) ได้เป็นปกติ

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 18 การทดลองที่ 2 เมื่อทดลองให้วงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 10.77A
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 19 การทดลองที่ 2 ค่าแรงดันเอาต์พุต เมื่อวงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 10.77A

รูปที่ 18 และรูปที่ 19 เป็นการทดลองที่ 2 โดยจะทดลองให้วงจรจ่ายกระแสเพิ่มขึ้นที่ 10.77A และสังเกตการทำงานของวงจรอีกครั้งไม่ให้เกิดความร้อนที่ผิดปกติใดๆ และในรูปที่ 19 จะเห็นว่าค่าแรงดันเอาต์พุตจะลดลงเล็กน้อย (0.03V) เมื่อเทียบกับการทดลองที่ 1

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 20 การทดลองที่ 2 สัญญาณพัลซ์วิดมอดูเลตชั่นที่ตอบสนองต่อกระแสโหลด 10.77A
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 21 ลักษณะของการทดลองโครงงาน (รูปที่ 1)
Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 22 ลักษณะของการทดลองโครงงาน (รูปที่ 2)

สำหรับในรูปที่ 18 ถึงรูปที่ 22 เป็นการทดลองที่ 2 โดยจะเพิ่มปริมาณการจ่ายกระแเอาต์พุตของตัววงจรให้สูงขึ้นเท่ากับ 10.77A (ประมาณ 132.04 วัตต์) และสังเกตการทำงานของวงจรอีกครั้ง โดยจากการทดลองวงจรยังสามารถทำงานได้ แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นกับตัวขับสวิตชิ่งกำลัง ค่อนข้างจะสูงขึ้นในกรณีนี้จะต้องใช้ฮีตซิ้งขนาดที่ใหญ่เพิ่มขึ้นและพัดลมระบายความร้อนช่วยก็สามารถนำไปใช้งานแบบต่อเนื่องได้เช่นกัน

Mini DC to DC Synchronous Buck Converter by Using LM2575HVT
รูปที่ 23 วงจรที่ออกแบบและใช้ในการทดลองโครงงาน

สำหรับโครงงานนี้เป็นการประยุกต์ใช้งานให้กับไอซี LM2575HVT อีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นไอซีเบอร์นี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไป และเป็นการพัฒนาจากโครงงานเดิมที่เคยนำเสนอ (https://www.electronicsdna.com/prototype-mini-buck-converter-using-lm2575hvt-adj/) ซึ่งในโครงงานนี้เป็นการทดลองออกแบบให้วงจรรับค่าแรงดันอินพุตที่ประมาณ 40V และกำหนดค่าแรงดันเอาต์พุตที่ประมาณ 12V และจ่ายกระแสที่ 5A ต่อเนื่อง โดยวงจรขับกำลังจะเป็นแบบซิงโครนัสบักคอนเวอร์เตอร์ ซึ่งเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้อ่านพัฒนาตัววงจรสำหรับจ่ายกำลังตามที่ต้องการครับ.

Reference

  1. https://www.onsemi.com/pdf/datasheet/lm2575-d.pdf
  2. https://www.ti.com/lit/ds/symlink/lm2575-n.pdf?ts=1647230104098&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com.au%252F
  3. http://ww1.microchip.com/downloads/en/DeviceDoc/lm2575.pdf
  4. https://www.ti.com/product/LM2575-N
  5. https://en.wikipedia.org/wiki/Buck_converter
  6. https://www.ti.com/lit/ug/slvu013/slvu013.pdf?ts=1662708004054&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com%252F
  7. http://ww1.microchip.com/downloads/en/AppNotes/00968a.pdf
  8. https://www.maximintegrated.com/content/dam/files/design/technical-documents/reference-designs/maxrefdes1054.pdf
  9. https://www.infineon.com/dgdl/ir3651spbf.pdf?fileId=5546d462533600a4015355d108ff178e