Inside Mini Electronic Transformer 30W

ในบทความนี้เป็นการนำเสนอเนื้อหาของอิเล็กทรอนิกส์ ทรานฟอเมอร์ (Electronic Transformer) ขนาด 30 วัตต์ ในลักษณะของการทดลอง เพื่อศึกษา และสังเกตการทำงานของวงจรแหล่งจ่ายไฟแบบสวิตชิ่ง ซึ่งอีกแบบหนึ่ง โดยวงจรนี้เป็นการออกแบบการทำงานที่ไม่ซับซ้อน และใช้อุปกรณ์พื้นฐานทั่วไป จากการสังเกตในเบื้องต้น ตัวโครงสร้างหลักจะเป็นแบบฮาร์ฟบริดจ์ คอนเวอร์เตอร์ (Half bridge Converter Topology) ใช้การออสซิลเลตภายในวงจรเอง (ไม่ใช้ไอซีควบคุม) และใช้ทรานซิสเตอร์เป็นส่วนของการขับกำลังร่วมกับหม้อแปลงขับสัญญาณ (Pulse transformer) ซึ่งการควบคุมแรงดันเอาต์พุตของวงจรเป็นแบบเปิด (Open Loop Control) และให้ประสิทธิภาพของการทำงานโดยรวมค่อนข้างดีครับ

Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 1 ลักษณะของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทรานฟอเมอร์ ขนาด 30 วัตต์
Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 2 แสดงแผ่นวงจรพิมพ์วงจรพิมพ์ ( PCB) ด้านล่างของบอร์ด
Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 3 แสดงอุปกรณ์ด้านบนของแผ่นวงจรพิมพ์

สำหรับในรูปที่ 1 ถึงรูปที่ 3 จะเป็นลักษณะของอิเล็กทรอนิกส์ ทรานฟอเมอร์ 30 วัตต์ ที่มีจำหน่ายทั่วไป ซึ่เป็นที่นิยมนำมาใช้งาน ทั้งนี้ขนาดของตัวกล่องจะค่อนข้างเล็ก W=7cm,L=3.5cm,H=3cm ติดตั้งได้ง่าย และให้ประสิทธิภาพการทำงานสูง

Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 4 สเปกของอิเล็กทรอนิกส์ ทรานฟอเมอร์ ขนาด 30 วัตต์
Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 5 ลักษณะของการนำอุปกรณ์ต่างๆ มาต่อสำหรับทดลอง

ในรูปที่ 4 จะเป็นสเปกการทำงานของตัวอิเล็กทรอนิกส์ ทรานฟอเมอร์ ที่ใช้ในการทดลอง ซึ่งในการทดลองนี้จะใช้ออสซิลโลสโคปในการวัดสัญญาณแรงดันที่เอาต์พุต 1 ช่อง และวัดกระแสที่เกิดขึ้นจากช่องวัดสัญญาณที่ 2 เพื่อสังเกตความสัมพันธ์ของสัญญาณทั้ง 2 ส่วน

Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 6 โหลดตัวต้านทานสำหรับทดสอบการทำงาน
Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 7 แสดงลักษณะของการทดสอบวงจรทั้งหมด
Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 8 การทดลองที่ 1 วัดสัญญาณเอาต์พุตที่ขดลวดทุติยภูมิ

รูปที่ 8 การทดลองที่ 1 เป็นการวัดสัญญาณเอาต์พุตในขณะวงจรอยู่ในโหมดสแตนบาย (Standby mode) ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าความกว้างของสัญญาณพัลซ์วิดมอดูเลตชั่นจะแคบ และวงจรใช้พลังงานไฟฟ้าในโหมดนี้น้อยมาก

Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 9 การทดลองที่ 2 ต่อโหลดขนาด 10 โอห์ม 20 วัตต์ที่เอาต์พุต

ในรูปที่ 9 การทดลองที่ 2 เป็นการทดลองใช้โหลดตัวตานทานขนาด 10 โอห์ม 20 วัตต์ ต่อที่เอาต์พุต จากสังเกตการตอบสนองการทำงานของวงจรที่เกิดขึ้น ซึ่งในการทดลองจะให้ช่องวัดสัญญาณที่ 1 (CH1) วัดค่าแรงดันที่เอาต์พุต และช่องวัดสัญญาณที่ 2 CH2 จะวัดสัญญาณกระแสที่ไหลผ่านโหลดด้วยเซนเซอรกระแสแบบ Closed Loop Current Sensor

Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 10 การทดลองที่ 2 สัญญาณที่เอาต์พุตเมื่อต่อโหลด 10 โอห์ม
Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 11 การทดลองที่ 2 สัญญาณที่เอาต์พุตเมื่อปรับค่า SEC/DIV ที่ 5uS และต่อโหลด 10 โอห์ม

จากรูปที่ 10 และรูปที่ 11 เป็นสัญญาณที่เกิดขึ้นในความถี่สูง โดยในรูปที่ 10 เป็นการวัดสัญญาณโดยปรับค่า SEC/DIV (ของออสซิลโลสโคป) ที่ 2.5mS จะสังเกตเห็นว่ารูปสัญญาณจะมีค่าประมาณ 20mS จากการเร็กติไฟร์แบบฟูลเวฟที่ความถี่ 50Hz แต่เมื่อปรับค่า SEC/DIV เป็น 5uS จะสังเกตเห็นความถี่ในการสวิตชิ่งได้ง่ายขึ้นโดยในรูปจะมีค่าความถี่ประมาณ 90kHz

Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 12 การทดลองที่ 3 เมื่อใช้โหลดหลอดไฟขนาด 12V/21 วัตต์ ต่อที่เอาต์พุต

รูปที่ 12 เป็นการทดลองที่ 3 เป็นการใช้โหลดหลอดไฟขนาด 12V/21 วัตต์ ต่อที่เอาต์พุต อีกครั้งและในการทดลองนี้จะทำให้วงจรต้องจ่ายกระแสให้กับโหลดเพิ่มขึ้น จากนั้นสังเกตการทำงานและผลการตอบสนองที่ได้

Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 13 การทดลองที่ 3 สัญญาณที่เอาต์พุตเมื่อใช้โหลดหลอดไฟ
Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 14 การทดลองที่ 3 สัญญาณที่เอาต์พุตเมื่อปรับค่า SEC/DIV ที่ 5uS และใช้โหลดหลอดไฟ

สำหรับในรูปที่ 13 และรูปที่ 14 เป็นสัญญาณที่เกิดขึ้นความถี่สูง ลักษณะเดียวกับรูปที่ 10 และรูปที่ 11 โดยในรูปปรับค่า SEC/DIV ที่ 20mS และทดลองปรับค่า SEC/DIV เป็น 5uS ในรูปที่ 14 ความถี่ในการสวิตชิ่งมีค่าประมาณ 73kHz ซึ่งมีค่าลดลง

Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 15 แสดงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทรานฟอเมอร์ 12 โวลท์ 30 วัตต์
Inside Mini Electronic Transformer 30W
รูปที่ 16 ลักษณะของการทดลองอิเล็กทรอนิกส์ ทรานฟอเมอร์ 12โวลท์ 30 วัตต์

สำหรับบทความนี้เป็นการนำเสนอลักษณะของการทำงานอิเล็กทรอนิกส์ ทรานฟอเมอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการติดตั้งระบบส่องสว่างทั่วไป โดยความน่าสนใจอยู่ที่เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับโหลดได้ 30 วัตต์ ใช้วงจรแบบสวิตชิ่งขนาดเล็กซึ่งมีการทำงานไม่ซับซ้อนมากนัก แต่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ค่อนข้างสูง ซึ่งคิดว่าบทความนี้น่าจะเป็นแนวความคิดสำหรับผู้อ่านนำไปพัฒนาวงจรสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายต่างๆ ในรูปแบบเดียวกันได้อีกรูปแบบหนึ่งครับ

Reference

  1. https://sound-au.com/lamps/elect-trans.html
  2. http://www.seekic.com/circuit_diagram/Basic_Circuit/Electronic_transformer_circuit_diagram.html
  3. http://www.seekic.com/circuit_diagram/Power_Supply_Circuit/Electronic_transformer.html
  4. https://www.radiolocman.com/shem/schematics.html?di=28080
  5. https://320volt.com/en/12v-150w-halojen-lamba-icin-elektronik-transformator/
  6. http://www.seekic.com/circuit_diagram/Control_Circuit/Multi_purpose_electronic_transformer_circuit.html
  7. https://www.osram.com/ecat/LED%20Drivers-Digital%20Systems/com/en/GPS01_1238364/