การตรวจจับกระแสไฟฟ้าแบบกระแสสลับ (AC Current sensor)

สำหรับการตรวจจับกระแสไฟฟ้าแบบสลับนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะต้องเกี่ยวข้องสำหรับการออกแบบวงจร หรือการประยุกต์ใช้งานบางอย่าง และโดยมากแล้วตัวอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับกระแสไฟฟ้าแบบนี้จะใช้วงจรที่ง่ายและราคาถูก ทั้งนี้เป็นเพราะลักษณะไฟฟ้ากระแสสลับนั้นสามารถส่งผ่านพลังงานเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าตลอดเวลา (จะใช้แนวคิดเหมือนหม้อแปลงไฟฟ้า Power Transformer) และสามารถนำอุปกรณ์เข้ามาตรวจจับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนั้นได้ ส่วนตัวอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับนี้มีทั้งตัวต้านทานกระแสทั่วไป (R-Shunt), CT และ Hall Effect เป็นต้น

Picrure by : www.openenergymonitor.org/emon/buildingblocks/ct-sensors-interface
CT sensors – Interfacing with an Arduino
ในรูปที่แสดงข้างบนนี้ จะเป็นลักษณะการต่อใช้งานของ CT สำหรับการตรวจจับกระแสไฟฟ้า และเราสามารถนำสัญญาณที่ได้มาคำนวณเพื่อให้เป็นค่าที่เหมาะสมในการนำไปต่อใช้งานร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ได้อย่างถูกต้อง


Basics Current Transformer
จากในรูปที่แสดงนี้จะเป็นหลักการทำงานของ CT และเทคนิดการนำไปใช้งานที่จะเป็นประโยชน์ในการออกแบบวงจรในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้เราเข้าใจวิธีการและเป็นแนวทาง ในการแก้ไขปัญหากรณที่ต้องการปรับปริมาณการตรวจจับกระแสที่ไม่เท่ากัน แต่ใช้ตัวตรวจจับเดียวกัน


Welding inverter up to 100A
จากในรูปข้างบนจะเป็นการประยุกต์ใช้งาน CT ในวงจรของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่เราสามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับนำไปประยุกต์ ซึ่งจากในวงจรตัว CT จะอยู่ที่ตำแหน่ง Tr2 (ใกล้กับหม้อแปลงเอาต์พุต) โดยสัญญาณที่เกิดขึ้นจะถูกนำมาเรียงกระแสที่ไดโอด BA159 และส่งเป็นสัญญาณควบคุมเข้าที่ขา 3 ของไอซี UC3844 นั้นเอง
ในส่วนของการตรวจจับกระแสไฟฟ้าแบบสลับนี้อุปกรณ์สามารถใช้อุปกรณ์ลักษณะเดียวกันกระการตรวจจับกระแสตรงได้ ดังนั้นวิธีการตรวจจับกระแสตรงสามารถใช้วงจรเดียวกันเพื่อนำมาตรวจจับแบบกระแสสลับ แต่ในที่นี้จะเป็นการประยุกต์ใช้ลักษณะของการใช้ CT เป็นส่วนใหญ่ทั้งนี้เพราะราคา และการออกแบบที่ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งโดยส่วนใหญ่การใช้งานทั่วไปจะเป็นลักษณะนี้มากกว่า
Reference