Design LM358 Control DC to DC Boost Converter

โครงงานนี้เป็นการทดลองออกแบบใช้ออปแอมป์ (Op-amp) LM358 เป็นตัวควบคุมให้กับวงจรสวิตชิ่งโหมด (Switching Mode) บูทคอนเวอร์เตอร์ (ฺBoost Converter) ในการจำกัดกระแสสวิตชื่ง, การควบคุมแรงดันที่เอาต์พุต, การสร้างสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลต (PWM Signal) และกำหนดการทำงานของตัวควบคุมนี้เป็นแบบโหมดแรงดัน (Voltage Mode) ซึ่งเป็นโหมดการทำงานทั่วไปที่เข้าใจง่าย โดยโครงงานนี้จะเป็นการต่อยอดจากโครงงานที่นำเสนอครั้งก่อน (Simple circuit PWM Adjustment by LM358) ให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้เพิ่มขึ้นครับ

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 1 วงจรต้นแบบที่ทดลอง

ในรูปที่ 1 แสดงวงจรต้นแบบที่ทดลองและนำโครงงาน Simple circuit PWM Adjustment by LM358 มาปรับแต่งด้วยกาารเพิ่มตัวเหนี่ยวนำ, วงจรจำกัดกระแส, วงจรป้อนกลับแรงดันเอาต์พุต (Feedback signal) และปรับความถี่สวิตชิ่ง (Fs) เพิ่มขึ้นจากเดิมมาที่ประมาณ 6kHz

คุณสมบัติของวงจรต้นแบบที่ทดลอง

  • Voltage input : 15-18V
  • Voltage output : 27V
  • Output current : 1A (Continuous)
  • Output power : 27W (Continuous)
  • Efficiency : > 80%
  • Feedback signal : Optocoupler (PC817)
  • Over current limit : Power MOSFET Switching
  • Soft start : PWM Adjustment about 1S
Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 2 เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทดลอง

รูปที่ 2 เป็นลักษณะของการทดลองและการปรับแต่งวงจรเพื่อให้เป็นลักษณะของวงจรดีซี ทู ดีซี (DC to DC) แบบบูทคอนเวอร์เตอร์ ที่สามารถควบคุมค่าแรงดันเอาต์พุตได้ โดยในส่วนของการควบคุมค่าแรงดันเอาต์พุตนี้ จะใช้การป้อนกลับด้วยออปโต้คัปเปิ้ลและซีเนอร์ไดโอดซึ่งมีค่า Vz = 24V (รูปวงจรที่ใช้ในการทดลองแสดงข้างล่าง)

การควบคุมกระแสสวิตชิ่งให้กับตัวเพาเวอร์มอสเฟต (Power MOSFET) นั้น จะใช้การตรวจจับกระแสทางด้านล่าง (Low side current sense) ที่ตำแหน่งขา ซอร์ส (S) ของตัวเพาเวอร์มอสเฟต จากนั้นจะส่งสัญญาณที่ได้นี้ไปยังทรานซิสเตอร์อีกครั้ง เพื่อควบคุมปริมาณการสร้างสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลต

สำหรับการใช้ค่าตัวเหนี่ยวนำและความถี่สวิตชิ่งสำหรับโครงงานี้ จะใช้วิธีโดยประมาณเบื้องต้นครับ แต่ยังคงให้วงจรสามารถทำงานได้แบบไม่มีความผิดปกติในเรื่องของความร้อน (Power loss) หรือเสียงรบกวนในขณะวงจรทำงาน นอกจากนี้ในส่วนของวงจรปรับชดเชยการทำงานระบบ (Loop compensation) จะใช้ในลักษณะของวงจรความถี่ต่ำผ่านเป็นหลัก (Low pass filter) และสังเกตการตอบสนองของระบบให้อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้

อีกส่วนหนึ่งที่ได้เพิ่มเติมให้วงจรคือ ส่วนของวงจรเริ่มการทำงานแบบนิ่มนวล (Soft start) โดยในส่วนนี้จะต่อร่วมเข้ากับการกำหนดค่าสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่น (ที่ตำแหน่งขา 5 ของไอซี LM358) ด้วยตัวเก็บประจุขนาด 100uF/25V กับไฟเลี้ยงไอซีนั้นเอง

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 3 ค่าแรงดันเอาต์พุตขณะวงจรสแตนบาย (Standby Mode)

รูปที่ 3 แสดงค่าแรงดันที่เอาต์พุตของวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ ซึ่งจะมีค่าประมาณ 27V ในสถานะสแตนบายและจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าแรงดันนี้บ้างเล็กน้อย โดยวงจรจะปรับชดเชยค่าแรงดันที่เอาต์พุตให้คงที่ตลอดเวลา

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 4 สัญญาณขับที่ขาเกต (Vgs) ของเพาเวอร์มอสเฟต (PWM Signal)

รูปที่ 4 แสดงลักษณะของสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นที่ขาเกต ในขณะวงจรสแตนบาย (CH1) ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่น จะแคบเพื่อรักษาระดับแรงดันเอาต์พุตให้อยู่ค่าที่กำหนด (ประมาณ 27V) ส่วนสัญญาณแรงดันในช่องที่ 2 (CH2) จะแสดงค่าแรงดันที่เกิดขึ้นจากการป้อนกลับแรงดัน เพื่อกำหนดขนาดสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นที่เหมาะสม

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 5 แสดงแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงที่จะจ่ายกำลังให้กับวงจรในโหมดสแตนบาย

จากในรูปที่ 5 จะเห็นว่าพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง สำหรับวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ที่ออกแบบนี้จะมีปริมาณน้อย โดยในที่นี้จะจ่ายแรงดันที่ 15V และกระแสน้อยกว่า 50mA

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 6 ภาพรวมของลักษณะการทดลองโครงงานนี้
Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 7 ทดสอบวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์เมื่อจ่ายกระแส 0.26A

รูปที่ 7 แสดงการทดสอบวงจรโดยให้วงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ จ่ายกระแสให้โหลดที่ 0.26A เพื่อสังเกตการทำงานต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งในส่วนแรงดันเอาต์พุตและสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่น ที่จะตอบสนองต่อการทำงานวงจรภายในที่เกิดขึ้น

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 8 แรงดันเอาต์พุตเมื่อจ่ายกระแสให้โหลดที่ 0.26A

รูปที่ 8 แสดงค่าแรงดันที่เอาต์พุตของวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ เมื่อจ่ายกระแสให้โหลดที่ 0.26A ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าแรงดันนี้เล็กน้อย (ค่าตัวต้านโหลดที่ 50 โอห์ม)

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 9 สัญญาณขับที่ขาเกต (Vgs) กระแสให้โหลดที่ 0.26A

รูปที่ 9 สัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นที่ขาเกต (CH1) เริ่มปรับความกว้างเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระดับแรงดันเอาต์พุตให้คงที่ และที่สัญญาณข้างล่าง (CH2) เป็นค่าแรงดันที่เกิดขึ้นในการกำหนดขนาดสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่น

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 10 ปริมาณการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของแหล่งจ่ายให้กับวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ ที่กระแสโหลด 0.26A

จากในรูปที่ 10 จะเห็นว่าแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงให้กับวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ประมาณ 7 วัตต์ (7W = 15Vx0.5A)

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 11 ทดสอบวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์เมื่อจ่ายกระแส 0.51A

รูปที่ 11 เป็นการทดลองให้วงจรจ่ายกระแสที่เอาต์พุตเพิ่มขึ้นมาที่ 0.51A จากนั้นทดลองสังเกตการทำงานต่างๆ ของวงจรอีกครั้ง

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 12 แรงดันเอาต์พุตเมื่อจ่ายกระแสให้โหลดที่ 0.51A
Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 13 สัญญาณขับที่ขาเกต (Vgs) กระแสให้โหลดที่ 0.51A
Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 14 ปริมาณการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของแหล่งจ่ายให้กับวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ ที่กระแสโหลด 0.51A

จากในรูปที่ 14 จะเห็นว่าแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงให้กับวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน โดยในตอนนี้จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ประมาณ 15 วัตต์ (15W = 15Vx1A)

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 15 ทดสอบวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์เมื่อจ่ายกระแส 0.74A

รูปที่ 15 เป็นการทดลองให้วงจรจ่ายกระแสที่เอาต์พุตเพิ่มขึ้น 0.74A ซึ่งจะเป็นการทดลองสุดท้าย ทั้งนี้จะเต็มพิกัดของสเปกไดโอดเอาต์พุต จากนั้นทดลองสังเกตการทำงานต่างๆ อีกครั้ง

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 16 แรงดันเอาต์พุตเมื่อจ่ายกระแสให้โหลดที่ 0.74A

รูปที่ 16 แสดงค่าแรงดันที่เอาต์พุตจะอยู่ที่ 26.73V เมื่อวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ จ่ายกระแสให้โหลดที่ 19.7802 วัตต์ (26.72Vx0.74A) ซึ่งยังคงเป็นที่น่าพอใจสำหรับการออกแบบวงจรนี้แบบเบื้องต้น

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 17 สัญญาณขับที่ขาเกต (Vgs) กระแสให้โหลดที่ 0.74A

รูปที่ 17 แสดงลักษณะของสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นที่เกิดขึ้น (CH1) และขนาดของแรงดันป้อนกลับในการสร้างสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่น (CH2) ซึ่งวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ยังสามารถทำงานได้ปกติไม่เกิดการออสซิลเลตของระบบขึ้นแต่อย่างใด

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 18 ปริมาณการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของแหล่งจ่ายให้กับวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ ที่กระแสโหลด 0.74A

จากในรูปที่ 18 แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงให้กับวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ จะขึ้นมาที่ประมาณ 22.5 วัตต์ (22.5W = 15Vx1.5A)

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter
รูปที่ 19 วงจรที่ออกแบบและใช้ในการทดลองโครงงาน

รูปที่ 19 เป็นวงจรที่ใช้ในการทดลองและปรับปรุงมาจากโครงงาน Simple circuit PWM Adjustment by LM358 แต่เพิ่มเติมส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดกระแส, การป้อนกลับแรงดันเอาต์พุต, การเริ่มการทำงานแบบนิ่มนวล และอุปกรณ์ต่างๆ อีกเล็กน้อย โดยเฉพาะตัวเหนี่ยวนำเพื่อให้เป็นวงจรสวิตชิ่งบูทคอนเวอร์เตอร์

Design LM358 Control DC to DC Boost Converter

สำหรับโครงงานที่ทดลองออกแบบนี้ การทำงานเป็นที่น่าพอใจครับ ซึ่งผลที่ได้จากการควบคุมค่าแรงดันเอาต์พุตมีความคลาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อย โดยค่าความผิดพลาดน้อยกว่า 1V หรือประมาณ 3.7% ที่กำลังไฟฟ้าให้กับโหลดประมาณ 20 วัตต์ และช่วยทำให้เข้าใจแนวความคิดของการควบคุมวงจรสวิตชื่ง บูทคอนเวอร์เตอร์, การทำงานของไอซีควบคุมสำเร็จเบอร์ต่างๆ ที่มีจำหน่ายทั่วไป และการออกแบบส่วนของวงจรควบคุมสำหรับวงจรสวิตชิ่งคอนเวอร์เตอร์แบบง่ายๆ เพิ่มขึ้นครับ.

Reference

  1. https://www.ti.com/lit/an/slva372c/slva372c.pdf?ts=1609053812459&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com%252F
  2. https://www.onsemi.com/pub/Collateral/NCP1406-D.PDF
  3. http://ww1.microchip.com/downloads/en/appnotes/00980a.pdf
  4. https://www.onsemi.cn/pub/Collateral/AND8334-D.PDF
  5. https://www.infineon.com/dgdl/an-1162.pdf?fileId=5546d462533600a40153559a8e17111a
  6. https://www.onsemi.com/pub/Collateral/LM358-D.PDF
  7. https://www.ti.com/lit/ds/symlink/lm358-n.pdf?ts=1609056805662&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com%252F