Simple Quasi resonant Induction Heater Control by using Arduino UNO

โครงงานนี้เป็นอีก 1 แบบของวงจรอินดักชั่น ฮีตเตอร์ (Induction Heater : IH) แบบกึ่งเรโซแนนท์ (Quasi resonant) โดยการนำบอร์ดเก่าของตัวเตาแม่เหล็กไฟฟ้าแบบอินดักชั่นและตัวคอยล์สร้างสนามแม่เหล็ก (Working coil) มาทดลองควบคุมการทำงานใหม่ โดยใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO เพื่อเป็นการเรียนรู้และศึกษาการทำงานของวงจรอินดักชั้นฮีตเตอร์ที่ใช้แรงดันอินพุตสูงขึ้น (ประมาณ 310VDC) ซึ่งจะใช้ลักษณะของการเขียนโปรแกรมควบคุมเบื้องต้นครับ

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 1 ลักษณะของบอร์ดเก่าของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าแบบอินดักชั่น

รูปที่ 1 เป็นลักษณะของบอร์ดควบคุมการทำงานของการขับกำลังให้กับตัวคอยล์สร้างสนามแม่เหล็กและเพาเวอร์ไอจีบีที รวมถึงคอยล์สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะนำมาใช้ในการทดลองโครงงานนี้

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 2 เริ่มต้นสร้างชุดขับกำลังให้กับคอยล์เหนี่ยวนำแม่เหล็ก (Working coil)

รูปที่ 2 นำแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) มาทำส่วนของวงจรขับกำลังใหม่ โดยสร้างชุดขับกำลังใหม่ให้กับคอยล์เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สามารถควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO ได้

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 3 เมื่อประกอบบอร์ดขับกำลังใกล้เสร็จเรียบร้อย
Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 4 การต่ออุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการทดลอง (1)

รูปที่ 4 เมื่อประกอบวงจรส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันสำหรับใช้ในการทดลอง โดยในการทดลองนี้จะใช้ฝาปิดกล่องขนมคุกกี้ที่เป็นโลหะเหล็กแบบวงกลม

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 5 อุปกรณ์ต่างๆ และปรับแต่งวงจรเล็กน้อยสำหรับการทดลอง (2)

รูปที่ 5 เป็นการทดลองนำฝาปิดกล่องขนมคุกกี้เช่นกัน ซึ่งเป็นโลหะเหล็กบาง แต่เป็นจะเป็นทรงสี่เหลี่ยม โดยจะมีการปรับแต่งวงจรเรโซแนนท์เล็กน้อย (LC resonance) เพื่อให้วงจรทำงานได้ดียิ่งขึ้น

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 6 แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับชุดขับกำลังอินดักชั่น ฮีตเตอร์
Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 7 แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับชุดขับขาเกตไอจีบีที ขนาด 15VDC/1A จำนวน 3 ช่อง
Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 8 บอร์ดควบคุม Arduino UNO และวงจรขับขาเกตไอจีบีที

รูปที่ 8 แสดงบอร์ดควบคุม Arduino UNO และวงจรขับขาเกต (Gate Drive) ด้วยออปโต้คัปเปิล TL250 ไปยังเพาเวอร์ไอจีบีที ทั้งนี้บอร์ดควบคุม Arduino UNO จะสามารถปรับค่าดิวตี้ไซเกิล (Duty cycle) ด้วยตัวต้านทานปรับค่า (VR) สำหรับทดลองได้ง่ายยิ่งขึ้น

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 9 การวัดสัญญาณกระแสที่ไหลผ่านคอยล์เหนี่ยวนำแม่เหล็ก

รูปที่ 9 แสดงการใช้อุปกรณ์วัดสัญญาณจับกระแส (กรอบสีเหลือง) ที่ไหลผ่านตัวเหนี่ยวนำเรโซแนนท์ (L1) โดยการใช้ Closed Loop Current Sensor  

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 10 การทดลองที่ 1 ด้วยแผ่นเหล็กโลหะแบบกว้างสี่เหลี่ยม

รูปที่ 10 เริ่มต้นการทดลองที่ 1 ด้วยแผ่นเหล็กโลหะแบบกว้างสี่เหลี่ยม และวัดสัญญาแรงดันที่ตกคร่อมขาคอลเล็กเตอร์และอีมิตเตอร์ (Vce) เทียบกับขาสัญญาณขับที่ขาเกต (Vge) เพื่อดูความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นและผลที่ได้ โดยใช้ไฟเลี้ยงในการทดลองวงจรที่ 40V/5A

/*
 Simple Quasi resonant Induction Heater Control by using Arduino UNO
 MCU : Arduino UNO
 Fs : 17kHz
 Vi : 40V/5A
 Duty cycle signal A0 : 0-50%
 Dev by : www.electronicsDNA.com
 Date : 12-2-2022  (V.0)
 */ 

#include <PWM.h>
int PWMset = 9;                    
int32_t frequency = 17000;   // Frequency (in Hz)   
void setup()
{  
  InitTimersSafe(); 
  pinMode(9,OUTPUT);    
  bool success = SetPinFrequencySafe(9,frequency);     
  if(success) {    
   digitalWrite(13,HIGH); 
   delay(1000);    
   digitalWrite(13,LOW);  
   delay(300);   
  }
}
void loop()
{
  PWMset = analogRead(A0); 
  pwmWrite(9,(PWMset/8));   
  delay(100);      
}

Download Library ——-> PWM.h

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 11 การทดลองที่ 1 สัญญาณที่วัดได้โดยใช้แผ่นเหล็กโลหะแบบกว้างสีเหลี่ยม

รูปที่ 11 แสดงการวัดสัญญาแรงดันที่ตกคร่อมขาคอลเล็กเตอร์และอีมิตเตอร์ (Vce) ที่ช่องสัญญาณ 1 (CH1 โดยตั้งค่า X10) เทียบกับขาสัญญาณขับที่ขาเกต (Vge) ที่ช่องสัญญาณ 2 (CH2 ในรูปข้างล่าง)

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 12 การทดลองที่ 1 ลักษณะการทดลองทั้งหมดด้วยแผ่นเหล็กโลหะแบบกว้างสีเหลี่ยม

รูปที่ 12 แสดงลักษณะของการทดลองที่ 1 ทั้งหมดด้วยแผ่นเหล็กโลหะแบบกว้างทรงสี่เหลี่ยม รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเบื้องต้น

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 13 การทดลองที่ 2 ลักษณะการทดลองด้วยกล่องเหล็กโลหะแบบกลม

รูปที่ 13 เป็นการทดลองที่ 2 โดยใช้กล่องเหล็กโลหะแบบกลม (กล่องขนมปัง) สำหรับนำมาทดลองการทำงานอีกแบบหนึ่งเพื่อสังเกตการทำงาน

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 14 การทดลองที่ 2 กำลังไฟฟ้าที่ใช้ด้วยกล่องเหล็กโลหะแบบกลม

รูปที่ 14 แสดงปริมาณกำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นระหว่างทดลอง โดยแรงดันอินพุตจะอยู่ที่ประมาณ 35V และกระแสที่ 3A หรือใช้กำลังไฟฟ้าที่ 100 วัตต์

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 15 การทดลองที่ 2 สัญญาณกระแส (IL1) ที่ได้จากการทดลองด้วยกล่องเหล็กโลหะแบบกลม

รูปที่ 15 เป็นลักษณะของสัญญาณกระแส IL1 (Working coil) ที่ช่องวัดสัญญาณ 1 (CH1) และสัญญาณขับขาเกตที่ช่องวัดสัญญาณที่ 2 (CH2) เพื่อใช้ในสังเกตลักษณะการทำงานของวงจรอินดักชั่น ฮีตเตอร์และปรับแต่งการทำงานให้วงจรทำงานได้ยิ่งขึ้น

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 16 การทดลองที่ 2 ลักษณะการทดลองทั้งหมดด้วยกล่องเหล็กโลหะแบบกลม
Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 17 การทดลองที่ 3 สัญญาณแรงดัน (Vce) ที่ได้จากการทดลองด้วยกล่องเหล็กโลหะแบบกลม

รูปที่ 17 การทดลองที่ 3 แสดงสัญญาณที่ตำแหน่งขา C และขา E ของตัวเพาเวอร์ไอจีบีที ของช่องวัดสัญญาณ 1 (CH1) และสัญญาณขับขาเกตที่ช่องวัดสัญญาณที่ 2 (CH2) เช่นกันสำหรับใช้ในสังเกตลักษณะการทำงานของวงจรอินดักชั่น ฮีตเตอร์และปรับแต่งการทำงานให้วงจรทำงาน

Simple Induction Heater Control by using Arduino UNO
รูปที่ 18 ลักษณะการทดลองทั้งหมดด้วยกล่องเหล็กโลหะแบบกลม

รูปที่ 18 แสดงลักษณะการทดลองโครงงานทั้งหมด โดยจะเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ทั่วไป ซึ่งจากการทดลองด้วยกล่องเหล็กโลหะแบบกลมนี้ ความร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณก้นของกล่องจะสูงมากกว่า 80 องศาเซลเซียลในเวลาประมาณ 10 วินาที

รูปที่ 19 วงจรที่ใช้ในการทดลองอินดักชั่น ฮีตเตอร์

สำหรับโครงงานนี้เป็นการทดลองวงจรอินดักชั่น ฮีตเตอร์ ที่ใช้แรงดันอินพุตที่สูงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้นำเสนอเนื้อหาไปบ้างแล้ว แต่ไฟเลี้ยงแรงดันอินพุตต่ำ ดังนั้นโครงงานนี้จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งด้วยการนำอุปกรณ์จากบอร์ดเก่าๆ มาปรับปรุงใหม่ของวงจรอินดักชั่นฮีตเตอร์แบบกึ่งเรโซแนนท์ โดยให้สามารถเชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO ได้ โดยเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงจรอินดักชั่นฮีตเตอร์นี้ ผู้อ่านสามารถเข้าไปดูได้ตามลิ้งก์ข้างล่างโครงงานนี้ครับ.

Reference

  1. https://www.semanticscholar.org/paper/Induction-cooker-design-with-quasi-resonant-using-Tulu-Y%C4%B1ld%C4%B1r%C4%B1m/f95bae25e0c204892fadde87c78e8be01d2046ab
  2. https://www.semanticscholar.org/paper/Optimisation-of-quasi-resonant-induction-cookers-Sheikhian-Kaminski/5650c04c7e10f908b04dd29c93b4bb768d267453
  3. https://www.researchgate.net/figure/a-Sub-optimum-and-b-Optimum-operations-of-quasi-resonant-inverter_fig2_304707563
  4. https://m.onsemi.cn/pub/Collateral/AND9166-D.PDF
  5. https://www.semanticscholar.org/paper/New-control-method-to-increase-power-regulation-in-Crisafulli-Pastore/b2f925ae8d6c5de17b8ba839b0df4904bdfd9ee6
  6. https://www.onsemi.cn/pub/Collateral/AN-9012JP.pdf
  7. https://www.ti.com/cn/lit/an/sprabt2/sprabt2.pdf
  8. https://www.nxp.com/docs/en/application-note/AN5030.pdf
  9. http://pe.org.pl/articles/2016/3/24.pdf
  10. https://www.researchgate.net/publication/316908002_Frequency_analysis_of_a_ZVS_parallel_quasi_resonant_inverter_for_a_solar_based_induction_heating_system