Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153 (LEP)

สำหรับในตอนสุดท้ายนี้ จะเป็นการประกอบส่วนของการขับกำลังฮาร์ฟบริดจ์สวิตชิ่ง, การพันหม้อแปลงความถี่สูง, วงจรทางด้านเอาต์พุตและทดลองการทำงานเมื่อต่อวงจรร่วมกับบอร์ดควบคุมไอซี IR2153 ซึ่งขนาดของวงจรในโครงงานนี้ไม่ใหญ่มากนัก (สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ประมาณ 100 วัตต์) ทั้งนี้วงจรที่ออกแบบเป็นตัวอย่างเบื้องต้น สำหรับการเรียนรู้ของแอดมินเอง ถึงการทำงาน, การควบคุมวงจร, การเลือกใช้อุปกรณ์, การสร้างสัญญาณขับเพาเวอร์มอสเฟต และการตอบสนองต่อการจ่ายกำลังไฟฟ้า สำหรับวงจรฮาร์ฟบริดจ์สวิตชิ่งที่ต่อขดลวดปฐมภูมิลงกราวด์ (GND) หรือต่อที่ไฟเลี้ยงแรงดันสูง (+VBUS) ด้านหนึ่ง หรือเรียกว่า (Asymmetric Half-Bridge Converter) อ่านเพิ่มเติมที่ (Ref.11)

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 1 อุปกรณ์บางส่วนสำหรับใช้ในการประกอบวงจรขับกำลัง

รูปที่ 1 เป็นการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ บางส่วนสำหรับประกอบวงจรขับกำลัง ซึ่งทั้งหมดจะประกอบบนแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) แบบอเนกประสงค์ ทั้งนี้วงจรที่ทดลองเป็นวงจรต้นแบบที่ทดลองครั้งแรก ซึ่งอาจจะมีการปรับแต่งการทำงานบางส่วนเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 2 วางเลย์เอาต์อุปกรณ์ที่จะประกอบบนแผ่นวงจรพิมพ์

รูปที่ 2 ทดลองวางตำแหน่งอุปกรณ์ต่างๆ บนแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) เพื่อให้ได้ระยะที่เหมาะสม และการวางอุปกรณ์ให้เป็นกลุ่มวงจรในแต่ละภาคการทำงานเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย โดยในรูปด้านซ้ายมือจะเป็นส่วนของอินพุตและด้านขวาจะเป็นส่วนของเอาต์พุตตามลำดับ

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 3 ประกอบอุปกรณ์บางส่วนและพันตัวเหนี่ยวนำที่ใช้ทางด้านเอาต์พุต

รูปที่ 3 เริ่มด้วยการประกอบอุปกรณ์บางส่วนและพันตัวเหนี่ยวนำที่ใช้ทางด้านเอาต์พุต ขนาด 120uH สำหรับวงจรฟิลเตอร์ ในส่วนของการตรวจจับกระแสจะใช้หม้อแปลงตรวจจับกระแส (Current Transformer : CT) ทางด้านขดลวดปฐมภูมินั้นเอง

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 4 พันหม้อแปลงสวิตชิ่งขดลวดปฐมภูมิจำนวน 50 รอบ

รูปที่ 4 เป็นลักษณะของการพันหม้อแปลงสวิตชิ่งที่นำมาใช้ โดยพันขดลวดปฐมภูมิจำนวน 50 รอบ (Primary winding = 50T) เสร็จแล้วให้เราใช้เทปพันทับอีกประมาณ 8-10 รอบ จากนั้นพันขดลวดทุติยภูมิแบบคู่จำนวน 6 รอบ (Secondary winding = 6T-CT-6T) และให้เราใช้เทปพันทับประมาณ 4-6 รอบให้แน่น สำหรับลวดทองแดงที่ใช้เป็นเบอร์ 21SWG และแกนหม้อแปลงสวิตชิ่งแบบ PQ-35 และไม่ต้องเพิ่มช่องอากาศ (no air gap) สามารถใช้เทปพันแกนหม้อแปลให้แน่นได้เลย

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 5 ลักษณะของหม้อแปลงสวิตชิ่งที่พันเสร็จแล้วด้านบน (1)
Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 6 ลักษณะของหม้อแปลงสวิตชิ่งที่พันเสร็จแล้วด้านข้าง (2)
Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 7 ลักษณะของหม้อแปลงสวิตชิ่งที่พันเสร็จแล้วด้านข้าง (3)

รูปที่ 5, 6 และรูปที่ 7 แสดงลักษณะของหม้อแปลงสวิตชิ่งที่พันเสร็จแล้ว จากนั้นให้เราเชื่อมต่อลวดทางด้านขดลวดทุติยภูมิตำแหน่งเซนเตอร์ (CT) ซึ่งจะต้องพิจารณาให้ถูกต้อง และทำการขูดน้ำยาเคลือบลวดทองแดงที่ปลายลวดออก เพื่อทำการบัดกรีลวดทองแดงเข้ากับบอร์ดทดลองได้ง่าย

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 8 ประกอบตัวหม้อแปลงสวิตชิ่งเข้ากับบอร์ด

รูปที่ 8 เป็นลักษณะของการประกอบตัวหม้อแปลงสวิตชิ่งเข้ากับบอร์ดและตัวหนี่ยวนำเอาต์พุต รวมทั้งบัดกรีลวดทองแดงเข้ากับบอร์ด

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 9 เตรียมเชื่อมต่อระหว่างบอร์ดควบคุมและบอร์ดขับกำลัง

รูปที่ 9 เมื่อประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ในส่วนของบอร์ดขับกำลังเสร็จแล้ว จากนั้นจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างบอร์ดควบคุมและบอร์ดขับกำลังเข้าด้วยกัน โดยใช้สายไฟขนาดเล็ก ซึ่งในการเชื่อมต่อสายไฟนี้จะแบ่งออกเป็นสัญญาณขับที่ขาเกต (Driver Hi, Driver Lo) และสัญญาณป้อนกลับแรงดันเอาต์พุต (+VFB) และสัญญาณกระแส (Ics) ที่เกิดขึ้น

รูปที่ 10 การทดสอบการจ่ายกระแสให้โหลดประมาณ 5A (1)
รูปที่ 11 การทดสอบการจ่ายกระแสให้โหลดประมาณ 5A (2)

ในรูปที่ 10 และรูปที่ 11 จะเป็นการทดสอบการจ่ายกระแสให้โหลดประมาณ 5A (ต่อเนื่อง) โดยใช้ไฟเลี้ยงทางด้านอินพุตที่ประมาณ 320VDC ค่าแรงดันเอาต์พุตกำหนดไว้ที่ 13V และตัวต้านทานโหลดขนาด 2.2 โอห์ม 60 วัตต์ ซึ่งจากการทดลองวงจรจะมีเสียงจี่ๆ ในขณะจ่ายกระแสที่ 5A บ้าง แต่เพาเวอร์มอสเฟตขับหม้อแปลงสวิตชิ่งไม่เกิดความร้อนใดๆ ที่ผิดปกติ

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 12 วงจรในส่วนของตัวควบคุมด้วยไอซี IR2153

รูปที่ 12 แสดงส่วนของวงจรในส่วนของตัวควบคุมด้วยไอซี IR2153 ซึ่งจะนำมาจากการทดลองในโครงงานตอนที่ 1 เพื่อให้เราดูวงจรไปพร้อมกับวงจรในส่วนของการขับกำลังและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153 (LEP)
รูปที่ 13 วงจรในส่วนของบอร์ดขับกำลังฮาร์ฟบริด์จสวิตชิ่ง

รูปที่ 13 สำหรับในส่วนของวงจรขับกำลังนี้ จะมีส่วนที่จะต้องพิจารณาที่วงจรขับที่ขาเกตให้กับเพาเวอร์มอสเฟต โดยจะใช้ออปโต้คัปเปิ้ลเบอร์ TLP250 และจะใช้ไฟเลี้ยงแยกอิสระกัน คือ VCC(A) และ VCC(B) ในส่วนอื่นจะคล้ายกับวงจรฮาร์ฟบริด์จสวิตชิ่ง คอนเวอร์เตอร์ทั่วไป

Simple Half-Bridge Topology Switching Mode Power Supply Using IR2153
รูปที่ 14 ลักษณะของการเชื่อมต่อระหว่างบอร์ดทั้งสองส่วนและการทดลอง

รูปที่ 14 แสดงลักษณะของการเชื่อมต่อระหว่างบอร์ดทั้งสองส่วนและการทดลอง ซึ่งจากการทดลองโครงงานนี้เป็นที่น่าพอใจสำหรับการทำงาน แต่ยังมีส่วนที่จะต้องปรับปรุงเล็กน้อยคือ ในส่วนของการปรับชดเชยการทำงานของวงจร (Compensation circuit) เพื่อให้วงจรทำงานได้อย่างมีสเถียรภาพที่สุด (Stability) ทั้งนี้การทดลองโครงงานทั้งหมดคงพอจะเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้อ่านสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในรูปแบบต่างๆ ได้ตามต้องการ

Reference

  1. http://ww1.microchip.com/downloads/en/AppNotes/01114A.pdf
  2. https://www.ti.com/seclit/ug/slyu036/slyu036.pdf
  3. https://www.onsemi.com/pub/Collateral/Smpsrm-D.PDF
  4. https://www.st.com/resource/en/application_note/cd00003910-topologies-for-switch-mode-power-supplies-stmicroelectronics.pdf
  5. https://www.st.com/resource/en/application_note/cd00157315-solution-for-150-w-half-bridge-resonant-dcdc-converter-stmicroelectronics.pdf
  6. https://www.iitk.ac.in/npsc/Papers/NPSC2014/1569978049.pdf
  7. https://www.nxp.com/files-static/dsp/doc/ref_manual/DRM074.pdf
  8. https://en.wikipedia.org/wiki/Switched-mode_power_supply
  9. https://th.rs-online.com/web/p/transformer-ferrite-cores/1678311
  10. https://docs.rs-online.com/4800/0900766b813c0db8.pdf
  11. https://www.psma.com/sites/default/files/uploads/files/10%20PSMA%20PTR%202014_10_02%20Power%20Converter%20Topology%20Trends%20Mappus%20Fairchild.pdf
  12. https://www.youtube.com/watch?v=6aaPwwkEVeQ