SG3524 Control Mini Boost Converter Topology [EP2]

โครงงานนี้เป็นการต่อยอดมาจากตอนที่ 1 ของการนำไอซีเบอร์ SG3524 มาออกแบบเพื่อให้ทำงานกับวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ (Boost Converter Topology) โดยจะเป็นการนำเสนอในลักษณะของการต่อทดลองที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของตัวบอร์ดควบคุม SG3524 (บอร์ดต้นแบบจากตอนที่ 1) และส่วนของบอร์ดขับกำลังบูทคอนเวอร์เตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจการทำงานได้ง่ายและสามารถนำบอร์ดแต่ละส่วนไปประยุกต์ใช้งานอื่นได้ โดยเฉพาะส่วนของบอร์ดควบคุมจะนำไปต่อร่วมกับคอนเวอร์เตอร์ในแบบอื่นสำหรับศึกษาในตอนต่อไป

SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 1 เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับประกอบโครงงาน
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 2 วางตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ บนแผ่น PCB

ในรูปที่ 1 และรูปที่ 2 เป็นการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับประกอบวงจรขับกำลังบูทคอนเวอร์เตอร์ โดยจะใช้การประกอบบนแผ่นวงจรพิมพ์ PCB โดยจะต้องวางเลเอาต์ตัวอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นระเบียบและภาคการทำงาน จากนั้นจะใช้วิธีการเซาะเป็นร่องสำหรับให้เป็นวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ที่ต้องการ ทั้งนี้ช่วยให้สร้างแผ่นวงจรพิมพ์ได้เร็วขึ้น

SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 3 บัดกรีอุปกรณ์บนแผ่น PCB เพื่อประกอบโครงงาน

รูปที่ 3 แสดงการประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ใกล้เสร็จเรียบร้อย ซึ่งยังคงเหลือสายไฟสำหรับส่งสัญญาณขับพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นและการรับสัญญาณป้อนกลับแรงดัน (Vo) และกระแสทางด้านเอาต์พุต (Io) สำหรับส่งมายังบอร์ดควบคุม เพื่อให้วงจรทั้งหมดทำงานได้ตามที่ออกแบบ ซึ่งในรูปที่ 3 จะเป็นการประกอบวงจรในเวอร์ชั่นที่ 1 แล้วนำไปทดลองเบื้องต้นก่อน

SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 4 ปรับแต่งวงจรและอุปกรณ์กับการใช้ตัวเหนี่วยนำใหม่

รูปที่ 4 เป็นวงจรที่ปรับปรุงอุปกรณ์ใหม่บางส่วนเป็นเวอร์ชั่นที่ 2 โดยจะเปลี่ยนตัวเหนี่ยวนำบูทคอนเวอร์เตอร์ตัวใหม่ จากนั้นทำการทดลองและศึกษาการทำงานของการนำไอซี SG3524 ที่ได้นำมาใช้งานอีกครั้ง โดยการทดลองทั้งหมดจะอธิบายเป็นลำดับถัดไป

SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 5 แรงดันอินพุตที่ใช้ในทดลองประมาณ 14V
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 6 สัญญาณขับขาเกต (CH1) และค่าแรงดันที่ตัวเหนี่ยวนำหลัก (CH2)

ในรูปที่ 5 และรูปที่ 6 เป็นการเตรียมการทดลองโดยจะใช้แรงดันอินพุตที่ประมาณ 14V จากนั้นวัดสัญญาณพัลซ์ขับขาเกตที่ขาแอโนด (A) ที่ตำแหน่ง D1 ในรูปที่ 18 ที่ช่องวัดสัญญาณ 1 (CH1) จากนั้นที่ช่องวัดสัญญาณ 2 (CH2) จะเป็นการวัดสัญญาณที่เกิดขึ้นตำแหน่งขาแอโนด (A) ที่ตำแหน่ง D3 โดยในรูปจะโพรบวัดสัญญาณไว้ที่ X10

SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 7 แรงดันเอาต์พุตกำหนดไว้ที่ประมาณ 25V
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 8 แคล้มมิเตอร์สำหรับทดลองวัดกระแสเอาต์พุต
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 9 โหลดตัวต้านทานใช้ในการทดลอง 40 โอห์ม 20 วัตต์

สำหรับรูปที่ 7 ถึงรูปที่ 9 เป็นการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับทดลองวงจรในส่วนของการวัดค่าแรงดันเอาต์พุตที่กำหนดในรูปที่ 7 ซึ่งกำหนดไว้ที่ประมาณ 25V การวัดกระแสทางด้านเอาต์พุตเมื่อจ่ายกระแสให้กับโหลดในการทดลองในรูปที่ 8 และโหลดตัวต้านทานขนาด 40 โอห์ม และ 20 โอห์มแสดงในรูปที่ 10

SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 10 การทดลองที่ 1 ให้วงจรจ่ายกระโหลดที่ 0.63A
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 11 การทดลองที่ 1 แรงดันเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระโหลดที่ 0.63A
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 12 การทดลองที่ 1 สัญญาณขับขาเกตเมื่อวงจรจ่ายกระโหลดที่ 0.63A

ในรูปที่ 10 ถึงรูปที่ 12 เป็นการทดลองที่ 1 โดยจะให้วงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 0.63A จากนั้นทำการวัดค่าแรงดันที่เอาต์พุตซึ่งมีค่าเท่ากับ 25.3V (ทดสอบค่า Load Regulation) รวมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นตามรูปที่ 12 เพื่อตอบสนองการทำงานที่กระแสโหลด 0.63A

SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 13 การทดลองที่ 2 ให้วงจรจ่ายกระโหลดที่ 1.17A
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 14 การทดลองที่ 2 แรงดันเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระโหลดที่ 1.17A
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 15 การทดลองที่ 2 สัญญาณขับขาเกตเมื่อวงจรจ่ายกระโหลดที่ 1.17A

สำหรับในรูปที่ 13 ถึงรูปที่ 15 เป็นการทดลองที่ 2 โดยปรับการจ่ายกระแสโหลดเพิ่มขึ้นที่ 1.17A และวัดค่าแรงดันที่เอาต์พุตจะมีค่าเท่ากับ 23.1V และสังเกตการเปลี่ยนแปลงสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นที่ตอบสนองการทำงานของตัววงจร โดยสัญญาณพัลซ์วิดธ์มอดูเลตชั่นจากการทดลองที่ 1 และ 2 จะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก

SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 16 ลักษณะของบอร์ดต้นแบบในการทดลอง (1)
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 17 ลักษณะของบอร์ดต้นแบบในการทดลอง (2)

รูปที่ 16 และรูปที่ 17 แสดงลักษณะของบอร์ดต้นแบบทั้ง 2 ส่วนที่ประกอบขึ้นและใช้ในการทดลอง โดยในการทดลองครั้งนี้ได้ต่อสัญญาณขับที่ขาเกตให้กับเพาเวอร์มอสเฟตเพียง 1 ตัวเท่านั้น ซึ่งดูได้จากในรูปที่ 18 ที่ตำแหน่ง OUT1 ของ Q4 และต่อเข้าที่ R13 แสดงในรูปที่ 19

SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 18 วงจรภาคขับกำลังในการทดลอง
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 19 วงจรภาคควบคุม SG3524 ในการทดลอง
SG3524 Control Mini Boost Converter Topology
รูปที่ 20 แสดงลักษณะของการทดลองโครงงานทั้งหมด

สำหรับโครงงานนี้เป็นการทดลองนำไอซีเบอร์ SG3524 มาต่อใช้งานกับวงจรบูทคอนเวอร์เตอร์ขนาดเล็ก ทั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษารูปแบบการทำงานของไอซีตัวนี้อีก 1 เบอร์ ทั้งนี้ตัวไอซีเบอร์ SG3524 เป็นไอซีควบคุมสวิตชิ่งโหมดที่นิยมใช้งานอีกเบอร์หนึ่งด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับเบอร์ทั่วไปเช่น SG3525 และ TL494 ซึ่งทำงานในโหมดแรงดัน (Voltage Mode Controller) และการทดลองนี้คงจะเป็นความรู้เบื้องต้นให้กับท่านผู้อ่านนำไปทดลองคอนเวอร์เตอร์แบบอื่นได้บ้างครับ.

Reference

  1. https://www.ti.com/lit/ds/symlink/sg2524.pdf?ts=1670174378355&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com%252F
  2. https://www.st.com/resource/en/datasheet/sg3524.pdf
  3. https://th.rs-online.com/web/p/pwm/6200492
  4. https://th.mouser.com/ProductDetail/Texas-Instruments/UC3524AN?qs=fZz%252BEhgUXdhTxUI5sHCCyw%3D%3D
  5. https://www.ti.com/seclit/ug/slyu036/slyu036.pdf
  6. https://www.ti.com/lit/an/snva731/snva731.pdf?ts=1672554711569
  7. https://www.onsemi.com/pdf/datasheet/ncv5171-d.pdf