Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller

โครงงานต้นแบบวงจรปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าแบบแอกทีฟ (Active Power Factor Correction) โดยใช้ไอซีเบอร์ FAN7527B ขนาด 8 ขาที่สามารถต่อใช้งานด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ไม่มากนัก เหมาะกับการนำไปใช้กับการจ่ายกำลังไฟฟ้าที่ไม่สูง อย่างวงจรขับมอเตอร์ขนาดเล็ก, แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสวิตชิ่งและบัลลาสอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งในบอร์ดต้นแบบนี้ใช้อุปกรณ์บางตัวจากบอร์ดสวิตช์เพาเวอร์ซัพพลายอื่นก่อน เพื่อทดลองการทำงานได้เร็วขึ้นและสามารถปรับแต่งวงจรในส่วนต่างๆ ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ

Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 1 แสดงบอร์ดต้นแบบที่ประกอบเสร็จเรียบร้อย
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 2 ลักษณะของไอซี FAN7527B ที่ใช้ในบอร์ดต้นแบบ

ในรูปที่ 1 และรูปที่ 2 แสดงลักษณะของบอร์ดต้นแบบที่ประกอบเสร็จสำหรับการทดลอง โดยจะประกอบบนแผ่นวงจรพิมพ์อเนกประสงค์ (PCB) และใช้การโยงสายไฟบางส่วนที่มีระยะห่างระหว่างกันและในรูปที่ 2 เป็นลักษณะของตัวไอซี FAN7527B ที่ใช้ในบอร์ดต้นแบบ

Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 3 ตัวเหนี่ยวนำ (Boost inductor) บูทคอนเวอร์เตอร์

รูปที่ 3 แสดงลักษณะของตัวเหนี่ยวนำ (Boost inductor) บูทคอนเวอร์เตอร์หลัก ซึ่งจะมีขดลวดช่วยจ่ายไฟ (Auxiliary winding) ที่พันร่วมบนแกนเดียวกันอีก 1 ชุด โดยตัวเหนี่ยวนำตัวนี้ จะนำมาจากบอร์ดแหล่งจ่ายไฟสวิตชิ่งเก่าซึ่งมีวงจรปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าและถอดมาใช้ในการทดลองโครงงานครั้งนี้

Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 4 แคล้มมิเตอร์สำหรับวัดกระแสเอาต์พุต (Io)
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 5 ใช้ตัวต้านทานโหลดขนาด 500 โอห์ม 60 วัตต์
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 6 ดิจิตอลมัลติมิเตอร์วัดค่าแรงดันเอาต์พุต (Vo) ขณะสแตนบาย

ในรูปที่ 4 ถึงรูปที่ 6 แสดงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง โดยกระแสเอาต์พุตของวงจรจะใช้แคล้มมิเตอร์สำหรับในการวัดค่า ใช้ตัวต้านทานค่าคงที่เป็นโหลดที่ประมาณ 500 โอห์ม 60 วัตต์ และกำหนดแรงดันเอาต์พุตไว้ที่ 370VDC

Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 7 การทดลองที่ 1 ดิจิตอลมัลติมิเตอร์วัดค่าแรงดันอินพุต (Vi)
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 8 การทดลองที่ 1 ให้วงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 620mA

ในรูปที่ 7 และรูป 8 เป็นการทดลองที่ 1 โดยการป้อนแรงดันอินพุตที่ประมาณ 90VAC/50Hz สำหรับเป็นการทดลองค่าแรงดันอินพุตต่ำ จากนั้นให้วงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 620mA (ประมาณ 200 วัตต์) และสังเกตผลที่เกิดขึ้น

Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 9 วัดแรงดันเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 620mA และแรงดันอินพุตที่ประมาณ 90VAC
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 10 การทดลองที่ 1 สัญญาณขับขาเกตของเพาเวอร์มอสเฟตเมื่อป้อนแรงดันอินพุตที่ประมาณ 90VAC

รูปที่ 9 และรูปที่ 10 แสดงผลที่ได้จากการทดลองที่ 1 ค่าแรงดันเอาต์พุตลดลงเมื่อเทียบขณะวงจรสแตนบาย โดยให้วงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 620mA และรับแรงดันอินพุตที่ประมาณ 90VAC สำหรับสัญญาณขับขาเกตของเพาเวอร์มอสเฟตดังรูปที่ 10

Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 11 การทดลองที่ 2 ดิจิตอลมัลติมิเตอร์วัดค่าแรงดันอินพุต (Vi)
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 12 การทดลองที่ 2 ให้วงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 660mA

รูปที่ 11 และรูป 12 เป็นการทดลองที่ 2 โดยการป้อนแรงดันอินพุตที่ประมาณ 220VAC/50Hz เป็นการทดลองค่าแรงดันอินพุตปกติทั่วไป และให้วงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 660mA (ประมาณ 200 วัตต์) และสังเกตผลที่เกิดขึ้น

Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 13 วัดแรงดันเอาต์พุตเมื่อวงจรจ่ายกระแสโหลดที่ 660mA และแรงดันอินพุตที่ประมาณ 220VAC
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 14 การทดลองที่ 2 สัญญาณขับขาเกตของเพาเวอร์มอสเฟต เมื่อป้อนแรงดันอินพุตที่ประมาณ 220VAC

สำหรับรูปที่ 13 และรูปที่ 14 แสดงผลที่ได้จากการทดลองที่ 2 ค่าแรงดันเอาต์พุตคงที่ เมื่อเทียบขณะวงจรสแตนบาย โดยวงจรยังจ่ายกระแสโหลดที่ 660mA และรับแรงดันอินพุตที่ประมาณ 220VAC และสัญญาณขับขาเกตของเพาเวอร์มอสเฟตเปลี่ยนแปลงดังรูปที่ 14

Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 15 ลักษณะแรงดัน (CH1) และกระแสอินพุต (CH2) เมื่อใช้วงจรปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 16 ลักษณะแรงดัน (CH1) และกระแสอินพุต (CH2) เมื่อไม่ใช้วงจรปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า

ในรูปที่ 15 และรูปที่ 16 เป็นการทดลองเพิ่มเติมภายหลังของการวัดสัญญาณแรงดัน (CH1) และกระแสอินพุต (CH2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างเมื่อใช้และไม่ใช้วงจรปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า โดยทดลองที่ค่าแรงดันอินพุตประมาณ 90VAC

Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 17 วงจรที่ออกแบบและใช้ในการทดลอง
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 18 ลักษณะของบอร์ดขณะทดลอง
Prototype Active Power Factor Correction 200W By using FAN7527B Controller
รูปที่ 19 ลักษณะของการทดลองโครงงานทั้งหมด

สำหรับโครงงานวงจรปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าแบบแอกทีฟนี้ เป็นการนำไอซีเบอร์ FAN7527B มาใช้งาน ซึ่งการต่อวงจรไม่ยากมากนักและมีข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆ ที่สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้หลายแหล่ง สำหรับโครงงานนี้คงจะเป็นอีกแบบหนึ่งของการต่อวงจร การทดลองและผลการทำงาน ที่จะช่วยให้ผู้อ่านสามมารถศึกษาและทำความเข้าใจไอซีเบอร์นี้ได้ง่ายขึ้น

Reference

  1. https://www.onsemi.com/pdf/datasheet/fan7527b-d.pdf
  2. https://www.onsemi.jp/pub/collateral/an-4121jp.pdf
  3. https://www.farnell.com/datasheets/1717150.pdf
  4. https://www.mouser.com/datasheet/2/149/FAN7527B-92344.pdf
  5. https://www.digikey.com/htmldatasheets/production/64121/0/0/1/fan7527b.html
  6. https://www.eetimes.com/voltage-mode-crm-pfc-for-lighting-offers-higher-efficiency-improves-reliability/