Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN

สำหรับโครงงานนี้จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของแหล่งจ่ายไฟสวิตชิ่งโหมดเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Mode Power Supply) โดยใช้ตัวควบคุม TOP224YN ด้วยโครงสร้างวจรแบบฟายแบกคอนเวอร์เตอร์ ทั้งนี้ตัวควบคุมการทำงานในตระกูล (TOPSwitch-II Family) สามารถนำมาออกแบบแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงขนาดเล็กได้ไม่ยากนัก ด้วยขาที่ต่อใช้งานเพียง 3 ขา (Three-Terminal Off-Line PWM Switch) ช่วยให้ออกแบบวงจรได้รวดเร็ว ใช้อุปกรณ์ต่อร่วมน้อยและประหยัดต้นทุนอีกด้วย โดยในโครงงานนี้จะนำไอซีเบอร์ TOP224YN มาทดลองสร้างแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงที่สามารถรับแรงดันอินพุตในช่วง 150VAC-220VAC/50Hz และจ่ายแรงดันเอาต์พุตที่ 16VDC/500mA ต่อเนื่อง

Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 1 แสดงลักษณะการต่อใช้งานไอซีควบคุมตระกูล TOPSwitch-II Family [Picture by Ref.3]

Click, Datasheet for TOPSwitch-II Family (Three-Terminal Off-Line PWM Switch)

Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 2 ตัวถังของไอซีควบคุมตระกูล TOPSwitch-II Family [Picture by Ref.3]
Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 3 แสดงโครสร้างภายในของไอซีควบคุมตระกูล TOPSwitch-II Family [Picture by Ref.3]

ในรูปที่ 1 ถึงรูปที่ 3 เป็นตัวถังของตัวไอซี การต่อใช้งานและโครงสร้างภายในตัวไอซีตระกูล TOPSwitch-II Family ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคุณสมบัติของตัวไอซีได้ในเบื้องต้น และในส่วนของรายละเอียดของตัวไอซีสามารถคลิกที่ลิ้งก์ Datasheet ข้างบนหรือที่อ้างอิงท้ายเนื้อหา เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบตามที่ต้องการครับ

Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 4 ไอซี TOP224YN ที่สั่งซื้อมาสำหรับทดลอง
Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 5 ตัวหม้อแปลงสวิตชิ่งแบบสำเร็จ

รูปที่ 5 แสดงลักษณะของตัวหม้อแปลงสวิตชิ่งที่นำมาใช้ในการทดลอง โดยสามารถนำมาใช้งานได้ทันทีหรือสามารถดูสเปกของตัวหม้อแปลง (Datasheet) ข้างล่างนี้ เพื่อพันหม้อแปลงเองให้ใช้งานได้ตามที่ต้องการ เช่น การเพิ่มกำลังของการจ่ายไฟทางด้านเอาต์พุต การปรับค่าแรงดันเอาต์พุต หรือการเพิ่มจำนวนของการจ่ายไฟเลี้ยงมากกว่า 2 ช่อง เป็นต้น

Click, Datasheet for Switching Transformer EF-20

Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 6 ตัวต้านทานโหลดในการทดสอบขนาด 10 โอห์ม 20 วัตต์ 2 ตัว
Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 7 ลักษณะของการทดลองวงจรสวิตชิ่ง

รูปที่ 7 แสดงลักษณะของการทดลองวงจรสวิตชิ่งโดยใช้ไอซี TOP224YN เป็นตัวควบคุม ซึ่งในการทดสอบการทดงานจะใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทั่วไป เช่น มัลติมิเตอร์ แคล้มวัดกระแสทางด้านเอาต์พต โหลดตัวต้านทาน สำหรับทดลองการจ่ายกระแสทางด้านเอาต์พุต และสังเกตความร้อนที่เกิดขึ้นในขณะตัวไอซีทำงานเพื่อการประเมินประสิทธิภาพของวงจรโดยรวมในข้างต้น

Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 8 การทดลองที่ 1 จ่ายแรงดันอินพุตที่ 150VDC (หรือประมาณ 100VAC)
Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 9 การทดลองที่ 1 วัดค่ากระแสที่ได้เมื่อต่อโหลดขนาด 20 โอห์ม
Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 10 การทดลองที่ 1 วัดค่าแรงดันเอาต์พุตที่กำหนด
Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 11 ลักษณะของการทดลองครั้งที่ 1

รูปที่ 8 ถึงรูปที่ 11 เป็นการทดลองที่ 1 โดยจะทดลองจ่ายแรงดันอินพุตที่ 150VDC และให้วงจรต่อโหลดทางด้านเอาต์พุต 20 โอห์ม และวัดค่ากระแสที่ได้โดยค่าแรงดันเอาต์พุตจะกำหนดไว้ที่ประมาณ 16V และตัววงจรสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุตได้ประมาณ 8 วัตต์ ต่อเนื่อง

Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 12 การทดลองที่ 2 จ่ายแรงดันอินพุตที่ 310VDC (หรือประมาณ 220VAC)
Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 13 การทดลองที่ 2 วัดค่ากระแสที่ได้เมื่อต่อโหลดขนาด 20 โอห์ม
Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 14 การทดลองที่ 2 วัดค่าแรงดันเอาต์พุต

สำหรับรูปที่ 12 ถึงรูปที่ 14 เป็นการทดลองที่ 2 เป็นการทดลองอีกครั้งด้วยการปรับแรงดันอินพุตสูงขึ้นมาที่ประมาณ 310VDC (หรือ 220VAC) เพื่อสังเกตการทำงานของวงจรอีกครั้ง โดยการทดลองทั้ง 2 ครั้ง จะเป็นการประเมินในเรื่องค่า Line regulation เบื้องต้น สำหรับนำวงจรต้นแบบไปใช้งานต่อไป

Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 15 วงจรที่ออกแบบและใช้ในการทดลอง

รูปที่ 15 เป็นวงจรที่ออกแบบและใช้ในการทดลอง ซึ่งโดยรวมใช้อุปกรณ์ไม่มากนัก ทั้งนี้ตัวควบคุม TOP224YN เป็นไอซีที่ใช้งานได้ไม่ยากเช่นกัน และในส่วนของการป้อนกลับสัญญาณ (Feedback signal) จะใช้ออปโต้ไอโซเลเตอร์ (PC817) ซึ่งจะช่วยให้การจ่ายกำลังทางด้านเอาต์พุตแยกกันอิสระ (Isolation) กับแหล่งจ่ายทางด้านอินพุตที่แรงดันสูง (+300VDC)

Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 16 แสดงตัวบอร์ดต้นแบบในการทดลอง
Flyback Converter Switching Mode Power Supply by Using TOP224YN
รูปที่ 17 ลักษณะของการทดลองแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงวงจรสวิตชิ่ง

กับโครงงานแหล่งจ่ายไฟสวิตชิ่งโหมดเพาเวอร์ซัพพลาย โดยใช้ตัวควบคุม TOP224YN ด้วยโครงสร้างวงจรแบบฟายแบกคอนเวอร์เตอร์นี้ ส่วนหนึ่งสำหรับแอดมินเองต้องการทดลองใช้งานตัวควบคุม TOP224YN ซึ่งจะต่างจากไอซีควบคุมทั่วไปที่เคยต่อใช้งาน จึงนำเนื้อหาเกี่ยวกับการทดลองด้วยไอซีเบอร์นี้มาแชร์ให้กับผู้อ่านและคิดว่าคงจะเป็นแนวทางนำไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่างๆ สำหรับโอกาสต่อไป

Reference

  1. https://www.power.com/products/topswitch
  2. https://datasheetspdf.com/pdf/1090723/PowerIntegrations/TOP224YN/1
  3. https://www.mouser.com/datasheet/2/328/top221-227-1512604.pdf
  4. https://www.ti.com/lit/ml/slup072/slup072.pdf?ts=1660621429607&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com%252F
  5. https://www.ti.com/lit/ml/slup254/slup254.pdf?ts=1660621451459&ref_url=https%253A%252F%252Fwww.google.com%252F
  6. https://www.st.com/resource/en/application_note/cd00004040-design-equations-of-highpowerfactor-flyback-converters-based-on-the-l6561-stmicroelectronics.pdf
  7. https://www.st.com/content/ccc/resource/sales_and_marketing/promotional_material/newsletter/group0/16/b8/12/bb/99/68/41/a7/ST_Wurth_Seminar_Munchen_2018/files/ST_Wurth_Seminar_Munchen_2018.pdf/jcr:content/translations/en.ST_Wurth_Seminar_Munchen_2018.pdf
  8. https://www.onsemi.com/pub/Collateral/Smpsrm-D.PDF