Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393 (LEP)

จากโครงงานตอนที่ 1 ได้นำเสนอการทดลองเบื้องต้นสำหรับวงจรที่ได้ทดลองเสร็จแล้ว ในตอนนี้จะเป็นการนำวงจรที่ทดลองมาต่อบนบอร์ดอเนกประสงค์สำหรับตรวจสอบการทำงาน จากนั้นนำบอร์ดต้นแบบที่ได้ยึดบนแผ่นอะคิลิกใสให้เป็นอีก 1 โครงงานที่ยึดส่วนต่างๆ ให้เรียบร้อย โดยในการทดลองจะใช้แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงขนาด 20V/2A รวมถึงการปรับแต่งวงจรการทำงานเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานจริง (อ่านตอนที่ 1 คลิกที่นี่)

Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393
รูปที่ 1 เริ่มประกอบบอร์ดบนแผ่นวงจรอเนกประสงค์ (1)
Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393
รูปที่ 2 เริ่มประกอบบอร์ดบนแผ่นวงจรอเนกประสงค์ (2)

รูปที่ 1 และรูปที่ 2 แสดงบอร์ดอเนกประสงค์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบวงจรใหม่อีกครั้ง เพื่อให้โครงงานในส่วนของวงจรเรียบร้อยและสามารถนำไปประกอบบนแผ่นอะคิลิกใสได้ง่ายขึ้น

Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393
รูปที่ 3 ลักษณะของบอร์ดควบคุมที่ประกอบเสร็จแล้ว (1)
Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393
รูปที่ 4 ลักษณะของบอร์ดควบคุมที่ประกอบเสร็จแล้ว (2)

รูปที่ 3 และรูปที่ 4 แสดงลักษณะของบอร์ดควบคุมที่ประกอบเสร็จแล้ว รวมทั้งแสดงการใช้สายโพรบวัดสัญญาณ, การจ่ายไฟเลี้ยงเพื่อทดสอบอีกครั้ง

Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393
รูปที่ 5 เตรียมแผ่นอะคิลิกใสสำหรับนำอุปกรณ์

รูปที่ 5 การเตรียมแผ่นอะคิลิกใสสำหรับนำอุปกรณ์ต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกันและวางเลย์เอาตำแหน่งการยึดแต่ละจุด

Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393
รูปที่ 6 เตรียมวางอุปกรณ์ยึดและตำแหน่งรูเจาะต่างๆ สำหรับยึดบนแผ่นอะคิลิกใส
Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393
รูปที่ 7 ลักษณะทั่วไปของการทดลองบอร์ดต้นแบบ

รูปที่ 7 แสดงลักษณะของการทดลองอีกครั้งสำหรับบอร์ดต้นแบบ ของการควบคุมความเร็วพัดลมโดยใช้ออปแอมป์ LM393

Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393
รูปที่ 8 บอร์ดโครงงานต้นแบบเสร็จเรียบร้อย

รูปที่ 8 ลักษณะของโครงงานที่เสร็จเรียบร้อย สามารถนำไปใช้งานหรือนำไปเรียนรู้การควบคุมมอเตอร์กระแสตรงและทำงานเบื้องต้นได้

Fan Speed Control by Temperature Monitoring using Op-amp LM393
รูปที่ 9 วงจรสำหรับใช้ในการทดลองโครงงาน (วงจรเดียวกับตอนที่ 1)

สำหรับโครงงานโครงงานการควบคุมความเร็วรอบให้กับพัดลม โดยใช้ไอซีออปแอมป์ไอซี LM393 ในตอนจบนี้คงจะช่วยให้เราเห็นการต่อใช้งานและลักษณะของบอร์ดวงจรที่สามารถนำไปใช้งานชัดเจนขึ้น ซึ่งคิดว่าโครงงานนี้คงจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านสำหรับนำไปใช้งานต่างๆ เช่น ในระบบเครื่องเสียง PA หรือตู้ควบคุมการทำงานระบบที่ต้องการระบายความร้อน เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งวงจรเพื่อนำไปใช้งานรูปแบบอื่น เช่น การควบคุมความร้อน หรือแสงสว่างได้เช่นกันครับ.

Reference

  1. VC PWM (Voltage Controlled Pulse Width Modulation) | All About Circuits
  2. PIC P16F628 comparator problem (microchip.com)
  3. PWM circuit uses one op amp (radiolocman.com)
  4. a PWM signal generating circuit based on LM393… – Technical Based Off-Topic Discussions – Digilent Forum (digilentinc.com)
  5. Weird op-amp voltage increase when using AC-DC power supply – Electrical Engineering Stack Exchange
  6. chet_paynter_introduct_6|Additional Op-Amp Applications|Chapter Summary (prenhall.com)
  7. https://www.electroschematics.com/simple-dc-dimmer-circuit/
  8. https://www.overclock.net/threads/diy-pwm-controller-converts-fake-4-pin-headers-to-pwm.1518819/