Begining for EGS0002 Sinusoid Inverter Board

สำหรับการทดลองนี้จะเป็นการใช้งานบอร์ด EGS0002 เบื้องต้น เพื่อเรียนรู้และเข้าใจการใช้งานต่างๆ ของบอร์ดสร้างสัญญาณไซน์เวฟสำหรับวงจรอินเวอร์เตอร์ เช่น การส่งสัญญาณเพื่อขับเพาเวอร์ไอจีบีที หรือมอสเฟตเป็นต้น การรับสัญญาณป้อนกลับสำหรับควบคุมแรงดันที่เอาต์พุต การตรวจจับกระแสให้กับอุปกรณ์ขับกำลัง การจ่ายไฟเลี้ยงให้กับบอร์ด และการสังเกตสัญญาณการแจ้งความผิดปกติที่เกิดขึ้น


ในรูปข้างบนจะเป็นลักษณะของบอร์ด EGS0002 ซึ่งจะมีขนาดเล็กกระทัดรัด ซึ่งเป็นบอร์ดที่นักทดลองและออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์นิยมนำมาใช้งานมาก ทั้งนี้บอร์ด EGS0002 ช่วยให้ผู้ทดลองใช้เวลาในการสร้างวงจรอินเวอร์เตอร์ที่ให้แรงดันเอาต์พุตแบบไซน์เวฟน้อยลง ซึ่งสามารถปรับขนาดของแรงดันเอาต์พุตเพื่อให้ได้ตามที่ต้องได้ง่ายยิ่งขึ้น

จากในรูปบอร์ด EGS0002 จะใช้ตัวประมวลผล ในการควบคุมการสร้างสัญญาณไซน์เวฟ (ตัวไอซีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านขวามือบน) โดยสัญญาณที่ได้นี้ยังไม่สามารถส่งไปยังภาคขับกำลังได้ทันที แต่ต้องใช้ไอซีสำหรับปรับขนาดสัญญาณและส่งไปยังส่วนขับกำลัง อีกครั้งด้วยไอซี 2 ตัว (ไอซีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 ตัวกลางบอร์ด) และสุดท้ายจะเป็นไอซีขนาดเล็ก (ใกล้กับไอซีปรับขนาดสัญญาณซ้าย ตำแหน่งมือสุด) ที่จะใช้ในการตรวจจับกระแสที่ไหลผ่านอุปกรณ์ขับกำลังไม่ให้เกินค่าที่กำหนด



สำหรับบอร์ด EGS0002 นี้เราสามารถต่อใช้งานร่วมกับจอแอลซีดีเพื่อแสดผลการทดงานได้เพิ่มเติม เพื่อให้ง่ายสำหรับสังเกตการทำงานที่เกิดขึ้น โดยจุดต่อใช้งานจะเป็นลักษณะ PIN Header เรัยงกันใกล้กับตัวไมโครคอนโทรลเลอร์

รูปข้างบนจะเป็นลักษณะวงจรที่จะต่อใช้งานร่วมกับเพาเวอร์มอสเฟต ที่ขาต่างๆ การรับสัญญาณป้อนกลับแรงดัน และกระแสสำหรับอุปกร์ขับกำลัง ขาสำหรับต่อ NTC : Negative Temperature Coefficient เพื่อป้องกันความร้อน และขาสำหรับควบคุมการทำงานของพัดลมในการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นภายในวงจร


ลักษณะการทดลองตามรูปที่แสดงข้างบนนี้ จะต่อไฟเลี้ยง 2 ส่วนคือ 5V เข้าที่ขา 14 (สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์) ไฟเลี้ยง 12V ที่ขา 12 โดยให้ขา 15 (VFB) และขา 1 (IFB) ต่อตัวต้านทาน 3.3k ลงกราว์ดก่อน (ยังไม่รับสัญญาณป้อนกลับเพื่อให้บอร์ดเริ่มการทำงานได้) ที่ขา 3, 6, 8 และ 10 จะต่อด้วยตัวต้านทาน 330R เพื่อให้เป็นโหลดค่าน้อยๆ และเราสามารถวัดสัญญาณที่เกิดขึ้นได้ ส่วนขาสำหรับต่อ NTC (16) และพัดลม (ขา 17) จะปล่อยลอยไว้ ที่ขา 2, 4, 7, 11, และ 13 จะต่อลงกราวด์

จากการทดลองเบื้องต้นนั้น สัญญาณจะมีสัญญาณแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ แบบพัลซ์ปกติที่มีความถี่ 50Hz (2 ช่อง) และสัญญาณพัลซ์ในลักษณะไซน์ (2 ช่อง) ซึ่งโดยโครงสร้างนั้นบอร์ดนี้จะต้องต่อส่วนของตัวขับกำลังแบบฟูลบริดจ์เพื่อสร้างสัญญาณไซน์ที่เอาต์พุตและจะต้องมีตัวเหนี่ยวนำอีก 1 ตัวเพื่อทำหน้าที่กรองความถี่พาหะจากการสร้างสัญญาณไซน์เวฟให้สมบูรณ์ที่สุด
นอกจากนี้ในช่วงที่เรากำลังทดลองและจ่ายไฟเลี่ยงให้กับบอร์ด EGS0002 นั้น เราจะต้องมีสัญญาณป้อนกลับมายังขารับสัญญาณป้อนกลับแรงดัน (ที่ขา 15) ด้วย ทั้งนี้ในกรณีที่เราไม่ส่งสัญญาณป้อนกลับจะทำให้แจ้งความผิดปกติด้วยการกระพริบของแอลอีดี และจะหยุดการจ่ายสัญญาณให้กับอุปกรณ์ขับกำลังที่ต่อร่วมนั้นเอง
Reference