Bluetooth 4.2 Audio Receiver (XY-BT5W) 5W+5W Class D Stereo

โครงงานเล็กๆ กับการนำโมดูลบูลธูท (Bluetooth 4.2 Audio Receiver) รับส่งสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์พกพา ไปยังส่วนของวงจรขยายเสียงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และเป็นการเปลี่ยนเนื้อหาจากโครงงานสวิตชิ่งเพาเวอร์ ซัพพลายต่างๆ บ้างเล็กน้อย ซึ่งคิดว่าผู้อ่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ง่าย ด้วยการทดลองโมดูลบูลธูทเบื้องต้นก่อน นอกจากนั้นตัวโมดูลบูลธูท (XY-BT5W) ยังสามารถหาซื้อได้จากร้านค้าออนไลน์ทั่วไปในราคาที่ไม่แพงมากนักอีกด้วยครับ


รูปที่ 1 และรูปที่ 2 เป็นลักษณะขอโมดูลบูลธูท (Bluetooth 4.2 Audio Receiver) ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่มีขนาดเล็กและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานต่างๆ ได้ง่ายและหลายรูปแบบในการส่งสัญญาณเสียง

รูปที่ 3 เป็นการใช้เพาเวอร์แบงค์ (Power Bank) สำหรับไฟเลี้ยงให้กับโมดูลบูลธูท (Bluetooth 4.2 Audio Receiver) ในการทดลอง ทั้งนี้ในหการนำโมดูลบูลธูทไปใช้งานจริง อาจจะใช้อะแดปเตอร์ชาร์จไฟของโทรศัพท์มือถือแทนได้ ซึ่งใช้อะแดปเตอร์ชาร์จขนาด 5V/1A ก็เพียงพอสำหรับใช้งาน



ในรูปที่ 4 ถึงรูปที่ 6 แสดงขั้นตอนการเชื่อมต่อระหว่างโมดูลบูลธูทและสมาร์ทโฟน ซึ่งเราจะต้องเปิดการใช้งานบูลธูในสมาร์ทโฟนก่อนตามรูปที่ 4 จากนั้นตัวเครื่องจะทำการค้นหาอุปกรณ์บูลธูทต่างๆ และแสดงให้ทราบ เสร็จแล้วให้เราเลือกอุปกรณ์ XY-BT และเชื่อมต่อตามลำดับ

รูปที่ 7 แสดงการเปิดไฟล์เพลงสำหรับทดลองเสียงที่เกิดขึ้นกับโมดูลบูลธูทที่เอาต์พุต ซึ่งอาจจะเปิดวิดีโอช่อง Youtube แทนได้เช่นกัน

รูปที่ 8 การเชื่อมต่อโมดูลบูลธูทได้ถูกต้องนั้น ส่วนหนึ่งเราสามารถสังเกตแอลอีดีสีน้ำเงินบนโมดูลบูลธูทจะแสดงผลให้ทราบด้วยการติดค้างไว้ ซึ่งเดิมในกรณีที่ยังไม่เชื่อมต่อแอลอีดีจะกระพริบอยู่นั้นเอง


รูปที่ 10 แสดงลักษณะของสัญญาณเอาต์พุตที่เกิดขึ้น ด้วยการใช้อออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณ ซึ่งผลที่ได้จะเป็นพัลซ์ ทั้งนี้ส่วนของวงจรขยายที่มากับตัวบอร์ดจะเป็นไอซีคลาสดี (Class D Audio Amp) ซึ่งเราสามารถสังเกตลักษณะของการทำงานได้ง่าย

รูปที่ 11 เป็นการทดลองฟังเสียงที่เกิดขึ้นทางด้านเอาต์พุตของตัวโมดูล ซึ่งตัวโมดูลจะมีแจ๊กขนาด 3.5mm ซึ่งเราสามารถนำหูฟังมาต่อได้ทันที หรือในกรณีที่เราต้องการนำสัญญาณเสียงไปขยายเพิ่มขึ้นก็สามารถต่อที่ช่องแจ๊ก 3.5mm นี้ก็จะสะดวกเพิ่มขึ้น

สำหรับโครงงานการนำโมดูลบูลธูท (Bluetooth 4.2 Audio Receiver) มาเพื่อ รับ/ส่งสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์พกพาไปยังวงจรขยายเสียงต่างๆ นี้ เป็นไอเดียที่เกิดขึ้นจากการเดินซื้ออุปกรณ์ทดลองที่บ้านหม้อ และคิดว่าผู้อ่านที่ชอบออกแบบของใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ด้วยความคิดสร้างสรรค์แปลกๆ ใหม่ๆ คงจะช่วยให้เป็นประโยชน์และลดระยะเวลาในการนำมาทดลองใหม่ได้พอควร ซึ่งในโครงงานจะแนะนำการเชื่อมต่อโมดูล การต่อไฟเลี้ยงและวัดสัญญาณที่เอาต์พุตทั้ง 2 ข้างเพื่อเป็นการทดลองในเบื้องต้นก่อนครับ.
Information