DIY Soldering Station 5 PIN V.1

หัวแร้งบัดกรีเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์เรานะครับ ซึ่งการใช้งานหัวแร้งก็แล้วแต่ลักษณะของงานที่เหมาะสมด้วยเช่น งานบางอย่างที่ไม่สามารถใช้ความร้อนสูงๆ ได้ งานบางอย่างต้องการความร้อนที่ต่อเนื่องในการใช้งานเพื่อความสะดวกเป็นต้น

DIY Soldering Station

Picture by : https://create.arduino.cc/projecthub/NoraTheDoggo/diy-soldering-iron-control-for-862d-8c5f4d

สำหรับโครงงานนี้จะเป็นการสร้างวงจรสำหรับควบคุมการทำงานของหัวแร้งที่สามารถปรับความร้อนได้ โดยเราสามารถศึกษาข้อมูลที่ได้นำเสนอนี้ ก็จะช่วยให้เรามีแนวทางในการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนแรกที่เราจะต้องรู้คือ หัวแร้งที่เราจะนำมาใช้โดยทั่วไปเราจะหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือจะสั่งซื้อแบออนไลน์ก็ได้

จากนั้นให้เราทำความเข้าใจกับคอนเน็กเตอร์ที่ปลายสายต่อกันคือ คอนเน็กเตอร์จะมีขาต่อใช้งานด้วยกัน 5 ขา (ดูรูปข้างบนครับ) โดยขาที่ 1 และ 2 จะเป็นขาฮีตเตอร์ ซึ่ง 2 ขานี้จะเป็นขารับไฟเลี้ยงเพื่อสร้างความร้อนให้เกิดขึ้น ที่ขา 4 และ 5 จะเซนเซอร์ความร้อนที่เกิดขึ้นกับหัวแร้ง โดยจะเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานเป็นสัดส่วนกับความร้อนที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เราทราบว่าความร้อนเกิดขึ้นมากน้อยเท่าไหร่ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสัญญาณป้อนกลับ (Feed back) นั้นเอง

*ขาที่ 3 จะเป็นขากราวด์ให้เราต่อเข้ากับกราวด์ระบบเพื่อลดสัญญาณรบกวนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น

DIY Soldering Station

รูปข้างบนนี้เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมความร้อนให้กับหัวแร้ง โดยจะใช้ออปแอมป์ในการขยายสัญญาณและเปรียบเทียบสัญญาณ เพื่อส่งสัญญาณให้กับการขับกำลังสำหรับเพาเวอร์มอสเฟตสร้างควาร้อนขึ้น และยังมีแอลอีดีที่ใช้ในการแสดงผลการทำงานเมื่อมีไฟเลี้ยงให้กับวงจรที่ LED1 และ LED2 จะแสดงการทำงานของวงจรเพาเวอร์มอสเฟต

DIY Soldering Station

เริ่มต้นกับการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ และการวางอุปกรณ์บนแผ่นวงจรพิมพ์ เพื่อให้เราทดลองได้ง่ายไม่ผิดพลาด และง่ายต่อการปรับแต่งวงจรในลักษณะต่างๆ

DIY Soldering Station

การทดสอบวัดค่าอัตราการขยายสัญญาณของออปแอมป์ที่ต่อใช้งาน และการตั้งค่ากำหนด (Set point) ให้กับวงจรเพื่อตรวจสอบการทำงานเบื้องต้น

DIY Soldering Station
DIY Soldering Station

ในรูปที่แสดงข้างบนนี้ จะเป็นลักษณะของวงจรต้นแบบที่ประกอบขึ้นในการทดลอง โดยสามารถต่อไฟเลี้ยงให้กับวงจรได้ทันทีและต่อคอนเน็กเตอร์จากหัวแร้งเข้าที่หัวรับตัวเมีย โดยเราสามารถปรับความร้อนของหัวแร้งด้วยการปรับ POT (สีฟ้า) เพื่อทดลองใช้งานจริง

หลังจากทดลองวงจรด้วยแผ่นวงจรพิมพ์อเนกประสงค์แล้ว ก็ทดลองออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ใหม่เพื่อให้การวางอุปกรณ์เป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งทดสอบการออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ที่ออกแบบใหม่อีกครั้ง จากนั้นทำกล่องสำหรับใส่วงจรให้วงจรน่าใช้งานยิ่งขึ้น

Reference

  1. https://www.youtube.com/watch?v=NklJvMe6OR0
  2. https://shopee.co.th/-QIYI-936-Electric-Soldering-Iron-Station-5-Pin-Welding-Hot-50-W-24V-i.130131343.2289287173