VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply

ในบทความนี้เป็นการทดลองวงจรและวัดสัญญาณที่เกิดขึ้น จากบอร์ดสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายขนาดเล็ก โดยใช้ตัวควบคุม VIPer22A ทั้งนี้เพราะไอซีควบคุม VIPer22A เป็นที่นิยมใช้งานมากสำหรับแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เช่นกล่องทีวีดิจิตอล จอแสดงผลต่างๆ และการนำมาใช้ในส่วนของการจ่ายไฟย่อย (Auxiliary supply) ให้กับระบบต่างๆ ขนาดใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้จุดเด่นของไอซีที่น่าสนใจของไอซีคือ การออกแบบไม่ยากมากนัก ใช้อุปกรณ์ต่อร่วมน้อยและช่วยให้ประหยัดต้นทุนการผลิตบอร์ด

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 1 ลักษณะของบอร์ดดสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายขนาดเล็ก

รูปที่ 1 แสดงลักษณะของบอร์ดดสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายขนาดเล็ก ที่ใช้ไอซีสำเร็จเบอร์ VIPer22A ซึ่งจะใช้อุปกรณ์ต่างๆ บนบอร์ดน้อยลง ทั้งนี้ในส่วนของวงจรควบคุม การขับสัญญาณและเพาเวอร์มอสเฟตอยู่ในไอซีแล้วทั้หมด

*** ข้อมูลเกี่ยวกับไอซี VIPer22A (Datasheet) : https://www.st.com/resource/en/datasheet/viper22a-e.pdf

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 2 ตำแหน่งของจุดต่ออินพุตและเอาต์พุตของบอร์ด

รูปที่ 2 แสดงตำแหน่งจุดต่อเอาต์พุตในกรอบสีน้ำตาลซึ่งจะมีไฟเลี้ยงด้วยกัน 3 ระดับ คือ 3.3V, 15V และ 22V และทางด้านอินพุตกรอบสีเขียว จะรับไฟเลี้ยงในช่วง 180V-264Vac

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 3 ลักษณะของตัวบอร์ดด้านล่าง
VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 4 วาดวงจรของบอร์ดลงการะดาษเพื่อศึกษา

รูปที่ 4 แสดงลักษณะการวาดวงจรของบอร์ดลงการะดาษ เพื่อศึกษาการออกแบบวงจร เทคนิคการใช้อุปกรณ์ และให้ดูวงจรเข้าใจได้ง่ายขึ้น

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 5 วัดค่าความเหนี่ยวนำของหม้อแปลงสวิตชิ่ง

รูปที่ 5 เป็นการวัดค่าความเหนี่ยวนำของหม้อแปลงสวิตชิ่ง สำหรับขดลวดชุดต่างๆ เช่น ขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding) และทุติยภูมิ (Secondary Winding) และขดลวดช่วย (Auxiliary Winding)

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 6 ลักษณะของการทดลองบอร์ดสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 7 สัญญาณที่เกิดขึ้นระหว่างขา D และขา S ของตัวไอซี VIPer22A

รูปที่ 7 สัญญาณที่เกิดขึ้นขณะวงจรอยู่ในสภานะสแตนบาย (Standby Mode) โดยจะวัดที่ตำแหน่งขา D และขา S ของตัวไอซีและปรับอัตราการลดทอนสัญญาณที่วัด 100 เท่า (X100)

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 8 การทดลองที่ 1 ต่อโหลดให้กับช่องไฟเลี้ยง 15V ด้วยตัวต้านทาน 100 โอห์ม
VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 9 ลักษณะของตัวต้านทาน 100 โอห์มสำหรับทดลอง

ในรูปที่ 8 และรูปที่ 9 การทดลองที่ 1 ด้วยการต่อโหลดให้กับช่องไฟเลี้ยง 15V ด้วยตัวต้านทาน 100 โอห์มและสังเกตการทำงานของวงจรที่เกิดขึ้น

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 10 สัญญาณที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อโหลด 100 โอห์ม (1)
VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 11 ปรับการแสดงผลสัญญาณที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อโหลด 100 โอห์ม (2)

ในรูปที่ 10 และรูปที่ 11 เป็นสัญญาณที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อโหลด 100 โอห์ม ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าความถี่ของสัญญาณจะเพิ่มขึ้น

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 12 ค่าแรงดันเอาต์พุตที่เกิดขึ้นเมื่อต่อโหลด 100 โอห์ม

รูปที่ 12 แสดงค่าแรงดันเอาต์พุตเมื่อต่อโหลด 100 โอห์มจะมีค่าลดลงจากเดิมที่ 16.17V มาที่ 14.11V

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 13 ลักษณะของการทดลองครั้งที่ 1
VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 14 การทดลองที่ 2 จะใช้โหลดขนาด 20 โอห์ม

รูปที่ 14 เป็นการทดลองที่ 2 จะใช้โหลดขนาด 20 โอห์ม เพื่อทดสอบการทำงานอีกครั้ง

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 15 สัญญาณที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อโหลด 20 โอห์ม

รูปที่ 15 แสดงสัญญาณที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อโหลด 20 โอห์ม โดยเราจะเห็นว่าค่าความถี่สวิตชิ่งการทำงานของวงจรจะมาอยู่ที่ประมาณ 69kHz ซึ่งจะเป็นความถี่สวิตชิ่งใกล้เคียงกับสเปกการทำงานของไอซี

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 16 ค่าแรงดันเอาต์พุตที่เกิดขึ้นเมื่อต่อโหลด 20 โอห์ม

ในรูปที่ 16 จะเห็นว่าค่าแรงดันเอาต์พุตที่เกิดขึ้นเมื่อต่อโหลด 20 โอห์ม จะลดลงเพิ่มขึ้นมาที่ 11.96V ซึ่งในช่วงนี้วงจรจะจ่ายกระแสให้โหลดประมาณ (600mA)

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 17 ลักษณะของการทดลองครั้งที่ 2
รูปที่ 18 การทดลองที่ 3 เมื่อเอาต์พุตซ๊อตเซอร์กิต

รูปที่ 18 เป็นการทดลองที่ 3 เมื่อเอาต์พุตซ๊อตเซอร์กิต เพื่อทดสอบการทำงานในส่วนของการป้องกันกระแสเกินภายในตัวไอซี ทั้งนี้วงจรสามารถรองรับการว๊อตเซอร์กิตที่เอาต์พุตได้โดยไม่เสียหาย แต่แนะนำว่าไม่ควรซ๊อตเซอร์กิตนานเกินไป

รูปที่ 19 สัญญาณที่เกิดขึ้นเมื่อเอาต์พุตซ๊อตเซอร์กิต

รูปที่ 19 เราจะเห็นว่าสัญญาณที่เกิดขึ้นเมื่อเอาต์พุตซ๊อตเซอร์กิตจะมีความถี่สูงขึ้น แต่ช่วงเวลาของการไบอัสกระแสให้กับตัวหม้อแปลงสวิตชิ่งทางด้านขดลวดปฐมภูมิจะลดลงมาก

VIPer22A Control The Small Flyback Switching Power Supply
รูปที่ 18 วงจรสำหรับบอร์ดสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายที่ใช้ทดลอง

สำหรับบทความนี้เป็นการนำเสนอบอร์ดสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายเล็กๆ ที่ใช้ไอซีควบคุมการทำงานแบบสำเร็จเบอร์ VIPer22A ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานมากในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าต่างๆ จากประเทศจีน ทั้งนี้เพื่อต้องการศึกษาการทำงานวงจรภายในแบบเบื้องต้น การออกแบบใช้งานไอซี และเทคนิคการประยุกต์ใช้งานของไอซี ซึ่งคิดว่าคงจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน ทั้งในส่วนของการทดลองและทดสอบทั่วไป เพื่อให้เห็นลักษณะการทำงานที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นครับ.

Reference

  1. https://www.st.com/resource/en/datasheet/viper22a-e.pdf
  2. https://www.all-electronics.de/wp-content/uploads/migrated/document/114196/506ag0207.pdf
  3. https://microcontrollerslab.com/viper22a-smps-controller-ic-pinout-example-circuit-features-specifications/
  4. http://dalincom.ru/datasheet/VIPER22A.pdf
  5. https://www.arrow.com/en/reference-designs/constant-current-350ma-led-driver-using-viper22a-pwm-controller/31fc4ba76be9bd7cf758046fa09ca81c